คืนจันทร์เพ็ญงามอร่ามตา สืบสานรักษาคลองเจดีย์บูชา สายน้ำแห่งพระราชศรัทธาสู่ความยั่งยืน” “นครปฐมเมืองดนตรี สร้างสรรค์สุนทรียศาสตร์แห่งพระราชา”
เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2567 เวลา 16.30 น. ผู้สื่อข่าวรายงานว่าจังหวัดนครปฐม โดยสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดนครปฐม กระทรวงวัฒนธรรม นำโดย นางฐิติรัตน์ เรืองสังข์ วัฒนธรรมจังหวัดนครปฐม จัดงานส่งเสริมประเพณี “ลอยกระทง วิถีไทย ใส่ใจสิ่งแวดล้อม” ประจำปี2567 “คืนจันทร์เพ็ญงามอร่ามตา สืบสานรักษาคลองเจดีย์บูชาสายน้ำแห่งพระราชศรัทธาสู่ความยั่งยืน” “นครปฐมเมืองดนตรีสร้างสรรค์สุนทรียศาสตร์แห่งพระราชา” ณ บริเวณหน้าวัดห้วยจระเข้อำเภอเมืองนครปฐม
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดนครปฐม กระทรวงวัฒนธรรม ได้ตระหนักถึงความสำคัญของประเพณี ลอยกระทงของไทยที่บรรพบุรุษได้สั่งสมสร้างสรรค์ไว้ ให้มีการอนุรักษ์ สืบสานวัฒนธรรมอันงดงามนี้ไว้ให้คงอยู่อย่างยั่งยืนตลอดไป ประเพณีลอยกระทงปฏิบัติสืบต่อกันมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ในคืนวันเพ็ญ เดือน 12 หรือวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 12 อันเป็นวันพระจันทร์เต็มดวง และเป็นช่วงที่น้ำนองเต็มตลิ่ง
โดยจะมีการนำดอกไม้ ธูป เทียน หรือสิ่งของใส่ลงในสิ่งประดิษฐ์รูปต่าง ๆ ที่ไม่จมน้ำ เช่น กระทงที่ทำจากใบตอง ในปัจจุบันได้นำใบไม้สวยงามต่าง ๆ มาประยุกต์ทำกระทงอีกด้วย แล้วนำไปลอยตามลำน้ำโดยมีวัตถุประสงค์และความเชื่อต่าง ๆ กัน อาทิ เพื่อแสดงความขอบคุณพระแม่คงคา ซึ่งเป็นแหล่งน้ำให้มนุษย์ได้ใช้ประโยชน์ต่าง ๆรวมทั้งขอขมาที่ได้ทิ้ง สิ่งปฏิกูลลงไป ส่วนบางท้องที่ จะทำเพื่อระลึกถึงบรรพบุรุษที่ล่วงลับ หรือเพื่อสะเดาะเคราะห์ ลอยทุกข์โศกโรคภัยต่าง ๆ และส่วนใหญ่จะอธิษฐานขอสิ่งที่ตนปรารถนาไปด้วยบางท้องถิ่นมีการใส่หมากพลู เงินเหรียญ หรือ ตัดเส้นผม ตัดเล็บมือเล็บเท้าใส่ในกระทง เพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์ ซึ่งเป็นสิ่งสะท้อนให้เห็นว่าคนไทยเรามีวัฒนธรรมที่ผูกพันกับสายน้ำอย่างมาก ด้วยเพราะน้ำถือเป็นสิ่งสำคัญในการหล่อเลี้ยงชีวิตมนุษย์ ทั้งใช้ในการอุปโภคบริโภคอยู่เป็นประจำในทุกวัน
สำหรับในวันนี้ได้นำโครงการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอาหารและวัฒนธรรม ที่เป็นอัตลักษณ์ของจังหวัดนครปฐม กิจกรรม : การขับเคลื่อนเมืองนครปฐมเป็นเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ของ UNESCO สาขาดนตรี มาบูรณาการงานร่วมกัน โดยกำหนดการจัดกิจกรรมมีดังนี้ วันที่ 15 พฤศจิกายน 2567 ณ วัดห้วยจระเข้ เวลา 18.00 น. – 20.00 น. การแสดงโปงลางและการแสดงทางวัฒนธรรม วันที่ 20 พฤศจิกายน 2567 ณ วัดสามง่าม อำเภอดอนตูมเวลา 18.00 น. – 20.00 น. วงดนตรีจากโรงเรียนสิรินธรราชวิทยาลัย วันที่ 23 พฤศจิกายน 2567 ณ วัดไร่ขิง อำเภอสามพราน เวลา 11.00 น. – 13.00 น. วงดนตรีจาก โรงเรียนวัดไร่ขิง (สุนทรอุทิศ) วันที่ 24 พฤศจิกายน 2567 ณ ถนนคนเดิน ริมคลองวัดพระงาม เวลา 18.00 น. – 20.00 น. วงดนตรีไทยสากล วันที่ 7 ธันวาคม 2567
ณ ถนนคนเดิน ริมคลองวัดพระงาม วงดนตรีจากโรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย /ศิลปินไมค์ทองคำ วันที่ 14 ธันวาคม2567 ณ สนามลี้คุนกี่ องค์พระฯ วงดนตรีจากโรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย /ศิลปินไมค์ทองคำ และวันที่ 21 ธันวาคม 2567 ณ สนามลี้คุนกี่ องค์พระฯ วงดนตรีจากโรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย /ศิลปินไมค์ทองคำ
นับเป็นความภาคภูมิใจอย่างยิ่งของชาวจังหวัดนครปฐมในเรื่องของดนตรีนั้น ที่มี “มหิดลสิทธาคาร” (Prince Mahidol Hall) เป็นสถานที่แสดงดนตรีที่เป็นความภาคภูมิใจของชาวจังหวัดนครปฐม ในระดับประเทศ ในฐานะที่มีความเป็นเลิศทางด้านคุณภาพ การสะท้อนเสียง (Acoustic) ที่ดีเยี่ยม ได้รับคำชื่นชมประทับใจด้วยดีเสมอมาจากวงดนตรีที่เป็นอาคันตุกะที่มาเยือนในโอกาสต่าง ๆ ซึ่งสถานที่แห่งนี้เปรียบเสมือนห้องรับแขกที่ได้ต้อนรับวงออร์เคสตราชั้นนำจากทั่วโลกอาทิ วงเบอร์ลินฟีลฮาร์โมนิก วงลอนดอนซิมโฟนีออร์เคสตรา วงบีบีซีซิมโฟนีออร์เคสตรา วงโตเกียวซิมโฟนีออร์เคสตรา เป็นต้น และจัดเทศกาลดนตรี กิจกรรมดนตรีในระดับชาติ และนานาชาติ มีศิลปินแห่งชาติในจังหวัดนครปฐม อาทิ ลำตัดคุณแม่ศรีนวล ขำอาจ ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ศิลปะพื้นบ้าน – ลำตัด) และ คุณแม่ผ่องศรี วรนุช ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (เพลงไทยลูกทุ่ง – ขับร้อง) เป็นต้น ดังนั้นเพื่อสนับสนุนการพัฒนาให้จังหวัดนครปฐมขับเคลื่อนก้าวสู่การเป็นเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ขององค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชน(UNESCO)สาขาดนตรี และร่วมขับเคลื่อนแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (2561 – 2580) และในวันนี้จึงได้ร่วมบูรณาการงานสร้างสรรค์ และสร้างพลังเกี่ยวกับงานดนตรีเพื่อขับเคลื่อนงานร่วมกันอย่างมั่นคงและมีคุณค่าส่งต่อประโยชน์ สู่ประชาชนในจังหวัดและภาพรวมของประเทศให้สืบสาน รักษา และต่อยอด เพื่อสร้างสรรค์ อนุรักษ์งานประเพณีวัฒนธรรมให้คงอยู่ ด้วยการบ่มเพาะและปลูกฝังหัวใจแห่งความเป็นไทยให้กับเด็กและเยาวชน ประชาชน คนไทยอย่างยั่งยืน และผลักดันให้จังหวัดนครปฐมเป็นเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ขององค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) สาขาดนตรี ซึ่งจะนำไปสู่การท่องเที่ยวในด้านอาหาร , วัฒนธรรม และพัฒนาอุตสาหกรรมทางวัฒนธรรม ความคิดแห่งการสร้างสรรค์ สู่การพัฒนาจังหวัดนครปฐมอย่างยั่งยืน และมั่นคงสืบต่อไป
ใหม่ อิทธิพันธ์ บัวทอง
ปัจจุบันดำรงตำแหน่งนายกสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย อดีตบรรณาธิการบริหารข่าวช่อง 8 RS mall หมายเลข 27 , อดีตบรรณาธิการบริหารสถานีโทรทัศน์ true4U ดิจิตอลทีวี, กรรมการสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย อดีตผู้อำนวยการข่าว PostTV, อดีตบรรณาธิการข่าว TPBS อดีตรองผู้อำนวยฝ่ายข่าว TNN24 อดีตบรรณาธิการข่าวการเมืองสถานีข่าว TNN24 และASTV อดีตบรรณาธิการข่าวหนังสือพิมพ์วัฏจักร