เพจกูรูด้านการเงิน แนะแบงก์ชาติสั่งปรับโครงสร้างหนี้ทุกราย พักหนี้คนไม่มีกระแสเงินสด ไม่ให้เกิดหนี้เสีย

เพจเรื่องเงินเรื่องง่ายโพสต์ข้อความระบุว่า ช่วงโควิดที่ผ่านมาใครที่อยู่วงการธนาคารจะรู้ว่าลูกค้าหลายรายสาหัสมากๆแต่มันไม่เหมือนสมัยต้มยำกุ้งปี 1997 อันนั้นเนี่ย ระบบสินเชื่อของประเทศไทยไปกู้เงินจากต่างประเทศมาแล้วเอาเงินนั้นมาปล่อยสินเชื่อในประเทศถึงเวลาไม่มีคืนและเจอค่าเงินบาทลอยตัวเลยต้องไปกู้ IMF

คนสมัยก่อนคิดกันแบบสั้นๆเห็นว่าดอกเบี้ยต่างประเทศถูกพวกดอกเบี้ย USD พวกสถาบันการเงินเห็นว่าพอดอกเบี้ยถูกแล้วเอามาคิดส่วนต่างของดอกเบี้ยที่สถาบันจะได้ในการปล่อยสินเชื่อเยอะกว่าปล่อยกู้เป็นเงินบาท (ที่เราเรียกว่า Spread) ยิ่งเชียร์ให้ลูกค้ากู้เป็นเงินสกุลต่างประเทศ แต่นั่นแหละครับมักง่าย เพราะว่าพอกู้เป็นเงินสกุลต่างประเทศแล้วคิดว่าวันที่ต้องเอาเงินไปคืนเขาอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินบาทกับ USD จะเหมือนเดิมทุกชาติไปคงเป็นไปไม่ได้แต่นั่นแหละครับเป็นสิ่งที่คนสมัยนั้นคิดและมันก็ผิด เพราะสุดท้ายค่าเงินบาทลอยตัวทำให้ต้องใช้เงินสองเท่าในการคืนหนี้ก้อนเดิม ระบบขาดสภาพคล่องอย่างหนักเพราะเงินที่หมุนเวียนอยู่ในระบบเป็นเงินที่สถาบันการเงินกู้มาจากต่างประเทศ

หลังจากนั้นแน่นอนครับพอวัวหายแล้วเราต้องรีบล้อมคอก แบงค์ชาติเองก็ต้องตั้งหน่วยงานอะไรขึ้นมามากมายตั้งนโยบายมากมายขึ้นมาเพื่อกำกับดูแลสถาบันการเงินเพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์นั้นอีกจนถึงวันนี้วิกฤตโควิดสภาพลูกค้าจากวิกฤตไม่ต่างกับต้มยำกุ้งเท่าไหร่นักแต่ครั้งนี้แบงค์ชาติเข้ามาช่วยเหลือออกนโยบายตามนโยบายของรัฐบาลเพื่อต่อลมหายใจให้กับลูกหนี้ทั้งระบบ ที่ทำได้เพราะแบงค์ชาติรู้ครับว่าครั้งนี้จะเงินทุนหมุนเวียนในระบบหรือที่เราเรียกกันว่าสภาพคล่องส่วนใหญ่มาจากเงินในประเทศ เงินฝากในประเทศไทยนั้นล้นระบบมากครับ คนไทยรวยขึ้นเยอะมากแต่แน่นอนว่ารวยกระจุกและยังจนกระจาย ครั้งนี้เงินที่สถาบันการเงินใช้ปล่อยสินเชื่อมาจากเงินในประเทศซึ่งล้นระบบอยู่และไม่ต้องรีบคืน ลูกค้าหลายรายสามารถผ่านวิกฤตทางการเงินมาได้เพราะแบงค์สามารถยืดหนี้ออกไปก่อนได้

ฟังแล้วเหมือนจะดูดีนะครับ แต่ “Devil is in the details” ปีศาจอยู่ในรายละเอียด ลูกค้าที่ประสบปัญหาเพราะว่าตัวเองอยู่ในธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากโควิดมีเยอะและหลากหลายมาก ผมขอยกตัวอย่างให้เข้าใจภาพง่ายง่ายนะครับ สมมุติว่าลูกค้าทำธุรกิจโรงเรียนนานาชาติซึ่งเป็นธุรกิจที่ดีมากภาษีก็ไม่ต้องเสียแต่เมื่อเกิดวิกฤติโควิดแน่นอนครับโรงเรียนปิดทำให้เราตกผลึกครับว่าโรงเรียนที่มีส่วนของเด็กเล็กได้รับผลกระทบครับเช่น พวกชั้นเตรียมอนุบาล และแน่นอนว่าเด็กหายไปสองปีเพราะผู้ปกครองให้เด็กอยู่บ้านกลัวติดโรคต่างกับโรงเรียนที่มีส่วนประกอบของเด็กโตยังไงต้องเรียนให้จบครับเพราะต้องได้ใบประกาศษณียบัตรเพื่อศึกษาต่อจากนั้นโรงเรียนที่มีส่วนประกอบของเด็กเล็กโดนเต็มๆครับและไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามกำหนดเดิม

อีกรายครับผลิตสินค้าเพื่อขายให้กับทัวร์จีนที่มาเที่ยวประเทศไทยปีหนึ่งหลายพันล้าน จู่ๆทัวร์จีนไม่มาครับจีนปิดประเทศ ก็ไม่สามารถชำระอะไรได้เลยโรงงานต้องปิด ผ่อนอะไรไม่ได้ครับเพราะสินค้าในคลังรอขายทัวร์จีนดึงเงินสดในมือไปหมด

อีกรายครับติดตั้งโครงข่ายโทรศัพท์ให้กับมือถือเจ้าดังไม่น่าเชื่อใช่ไหมครับว่าทำไมถึงกระทบกระแสเงินสดลองคิดดูนะครับว่าช่วงโควิดหนักๆ มี lockdown พยายามไม่ให้คนเดินทางข้ามจังหวัดเดี๋ยวลูกค้าจะสามารถไปติดตั้งอุปกรณ์เพื่อขยายโครงข่ายได้ยังไงครับ ถึงเวลาระบบมือถือเจ้าดังพอเขาเห็นว่าโครงข่ายยังติดตังไม่จบก็ไม่จ่ายครับแต่ลูกค้าต้องจ่ายครับจ่ายเงินเดือนครับจ่ายค่าไฟครับจ่ายค่าน้ำครับและยังต้องจ่ายดอกเบี้ยและเงินกู้ของธนาคารอีกครับ

นี่เป็นแค่ตัวอย่างเล็กน้อยมากๆเที่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้นกับระบบธุรกิจในประเทศไทย แน่นอนครับมีนโยบายช่วยเหลือของภาครัฐช่วยในช่วงแรก (6-12 เดือน) แต่ระยะยาวแบงค์ชาติคาดหวังให้ธนาคารต้องมีความเข้าใจในการปรับโครงสร้างหนี้ให้กับลูกค้าทุกรายเพื่อให้สอดคล้องกับกระแสเงินสดคือถ้ามันไม่มีกระแสเงินสดเลยก็ต้องพักหนี้ครับ และประเมินว่าเมื่อไหร่กระแสเงินสดจะกลับมาไม่ใช่ปล่อยไหลให้ลูกค้ากลายเป็นหนี้เสีย ทำหลายธุรกิจที่สร้างมาตลอดชีวิต

ปัญหามันมาจากเรื่องที่ไม่คาดคิดอีกครับพวกธนาคารต่างประเทศที่ทำธุรกิจในประเทศไทยพยายามใช้ความคิดแบบประเทศตัวเองเพื่อแก้ไขสถานการณ์นี้ซึ่งต่างจากวิธีการในประเทศไทยพอสมควรแบบนี้ลูกค้าตายครับ ธนาคารต่างประเทศส่วนใหญ่แผนกบริหารความเสี่ยง เป็นคนที่ทางสำนักงานใหญ่ที่ต่างประเทศเป็นผู้แต่งตั้งมา เวลาคุยเรื่องนี้ยิ่งไปกันใหญ่ครับเช่นบอกว่าลูกค้าไม่ชำระหนี้ทำให้แบงค์เสียหาย แต่เค้าไม่คิดเลยว่า ถ้าแบงค์ไปบี้ลูกค้าตอนนี้ ธุรกิจลูกค้าจะล่มสลายทั้งทั้งที่จริงๆแล้วถ้ารออีกหน่อยรออีกนิดกระแสเงินสดจะเข้ามาและจะเริ่มทยอยจ่ายหนี้ได้จะถอดปลั๊กตอนนี้ทำไม

ลูกค้าน่าสงสารครับไม่สามารถร้องเรียนกับใครได้และเรื่องปรับโครงสร้างเพื่อแก้หนี้มันไม่มีการกำหนดมาตรฐานอะไรเลย แบงค์ชาติน่าจะกำหนดให้ชัดเจนเลยว่าธุรกิจที่ประเมินแล้วว่าสามารถมีกระแสเงินสดหลังจากวิกฤตจบลงให้ธนาคารปรับโครงสร้างให้ได้ ยิ่งลูกค้าที่หลักประกันเยอะแบงค์ยิ่งน่าจะสบายใจและรอได้ ไม่ใช่พอเห็นหลักประกันแล้วตาโต คิดว่าตัวเองได้เงินคืนแน่ๆจากการฟ้องร้องก็ปล่อยไหลแล้วฟ้องลูกค้าเลยเพื่อบีบให้ลูกค้าขายหลักประกันหรือเข้าสู่กระบวนการบังคับหลักประกันแบบนี้ผมเรียกว่าเลวครับ เค้าสร้างธุรกิจมาหลักประกันเค้าก็สั่งสมมา คุณเอากระดาษไม่กี่แผ่นมาทำลายธุรกิจคนอื่น แบบนี้ไม่มีจรรยาบรรณในการทำธุรกิจ พอแดดออกก็ช่วยเหลือเขาเสนอตัวเข้ามาสับสนุน พอฝนตกก็ดึงร่มออก

เราไม่รวยเหมือนประเทศอื่นครับประเทศที่รัฐเค้าจ่ายเงินเดือนพนักงาน ช่วงโควิดให้จ่ายดอกเบี้ยให้ แต่ไม่เป็นไรครับภาครัฐเราสั่งได้ครับขอให้สั่งจะมาจากประเทศไหนถ้าทำธุรกิจในประเทศไทยต้องทำตาม ภาครัฐต้องตามมาดูแลในรายละเอียดครับ อย่าไว้ใจธนาคารพาณิชย์โดยเฉพาะธนาคารพาณิชย์ที่มีหน่วยงานบริหารความเสี่ยงเป็นคนต่างชาติ อย่าหงอครับ เมื่อนานมาแล้วเราอาจจะง้อให้ทั้งเอกชนและต่างชาติช่วยกันลงทุนในธุรกิจการเงินเพื่อสนับสนุนการเติบโตของระบบเศรษฐกิจในประเทศ แต่ตอนนี้อย่างที่เห็นว่าคนไทยมีเงินฝากมากมาย ระบบการเงินของไทยพัฒนาขึ้น ภาครัฐไม่ต้องง้อใครมาลงทุนครับเพราะใครๆก็ต้องมาลงทุนที่ประเทศไทย เรื่องธุรกิจการเงินเอกชนไทยเองก็พร้อมที่จะลงทุนเพื่อสนับสนุนธุรกิจในประเทศ ภาครัฐจะออกนโยบายช่วยเหลือต้องอย่าเกรงใจใครทั้งนั้นหัดเกรงใจประชาชนที่เสียภาษีในประเทศบ้างครับ นโยบายสามารถช่วยให้ธุรกิจผ่านวิกฤติในช่วงแรกได้แต่ไม่ได้ช่วยในระยะยาวถ้าไม่ได้ช่วยในระยะยาว ธุรกิจได้รับผลกระทบ กระทบการจ้างงานในบริษัท กระทบ supply chain และอื่นๆอีกมากมาย ประชาชนเยอะแยะที่ได้รับผลกระทบนี่แหละครับเป็นผู้เสียภาษีถึงจะเสียไม่เยอะแต่มันไม่ได้วัดที่ใครเสียเยอะเสียน้อย ใครก็ตามที่เสียภาษีต้องมีสิทธิ์เท่าเทียมกันภาครัฐต้องหันมาลงรายละเอียด ไม่ต้องกลัวว่าใครจะย้ายการลงทุนออกเพราะมันออกไม่ได้ครับประเทศเราเซ็กซี่เกินกว่าที่ใครจะปฏิเสธได้ หัดดูไพ่ในมือแล้วใช้ให้เป็นบ้าง ปกป้องประชาชนคนที่เสียภาษีให้ท่านบ้าง

ไว้ผมมาเล่าให้ฟังต่อครับ