มูลนิธิเพื่อนพึ่ง’’ภา’’ ยามยาก ส่งเสริมธุรกรรมออนไลน์เพื่อชุมชน

การฟื้นฟูอาชีพและส่งเสริมธุรกรรมออนไลน์เพื่อชุมชน จังหวัดขอนแก่น โดยมูลนิธิเพื่อนพึ่งภา

วันที่ 24 เมษายน 2566 เวลา 10.00 น. เจ้าหน้าที่มูลนิธิเพื่อนพึ่ง’’ภา’’ ยามยาก สภากาชาดไทย และคณะทํางานเดินทางไปยังพื้นที่เครือข่ายเตือนภัยพิบัติชุมชนเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ชุมชนป่าภูถ้ํา ภูกระแต ตําบลแวงน้อย อําเภอแวงน้อย จังหวัดขอนแก่น ณ พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติจัดการน้ําชุมชน ตามแนวพระราชดําริ เพื่อเก็บข้อมูลผลิตภัณฑ์ชุมชน ส่งเสริมความรู้ด้านการพัฒนาอาชีพและความรู้ด้านธุรกรรมออนไลน์ ร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน กรมการพัฒนาชุมชน สํานักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ETDA) และสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) ได้แก่ 1. เครือข่ายชุมชนโนนแต้ ตำบลหนองขาม อำเภอครสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ 2. เครือข่ายภูถ้ำ ภูกระแต อำเภอแวงน้อย จังหวัดขอนแก่น- บ้านบะแหบ ตำบลก้านเหลือง – บ้านท่าวัด ตำบลท่าวัด อำเภอแวงน้อย- บ้านป่าเป้ง ตำบลแวงน้อยโดยคุณพิชาญ ทิพวงษ์ ตำแหน่งผู้ประสานงานลุ่มน้ำชี กล่าวสรุปภาพรวมของพื้นที่ ด้านการบริหารจัดการน้ำของชุมชน และข้อมูลเรื่องผลิตภัณฑ์ชุมชน ซึ่งในครั้งนี้ ทางชุมชนได้นำเสนอข้อมูลผลิตภัณฑ์ ประเด็นปัญหาและความต้องการที่จะต่อยอดด้านสินค้า เช่น ด้านบรรจุภัณฑ์ โลโก้ การอบรมด้าน branding เป็นต้น โดยคณะทำงานได้มีการแลกเปลี่ยนข้อเสนอแนะในการพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์นั้น ๆ ให้กับทางชุมชน โดยมูลนิธิฯจะเป็นตัวกลางประสานความร่วมกับภาคีเครือข่ายให้การติดตามงานต่อไป

เวลา 12.00 น.เจ้าหน้าที่มูลนิธิฯ และคณะทํางานเดินทางไปยังกลุ่มทอเสื่อกกละหานนา ต.ละหานนา อ.แวงน้อย จ.ขอนแก่น เพื่อเก็บข้อมูลผลิตภัณฑ์ชุมชน และเสนอแนะการต่อยอดผลิตภัณฑ์ พร้อมทั้งผลักดันชุมชนให้นำผลิตภัณฑ์เข้าสู่โครงการส่งเสริมธุรกรรมออนไลน์เพื่อชุมชน เพื่อเพิ่มช่องทางจำหน่ายสินค้าให้ชุมชนมีรายได้อย่างยั่งยืน

เวลา 14.00 น.เจ้าหน้าที่มูลนิธิฯ และคณะทํางานเดินทางไปยังกลุ่มแม่บ้านย้อมสีธรรมชาติ (ภูกระแต) หมู่ 8 ต.ก้านเหลือง อ.แวงน้อย จ.ขอนแก่น เพื่อเยี่ยมชมผลิตภัณฑ์ชุมชน และศึกษาการย้อมสีผ้าจากวัสดุธรรมชาติเป็นลวดลายต่าง ๆ พร้อมทั้งต่อยอดช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าให้แก่ชุมชนโดยมูลนิธิฯ ดำเนินการจัดทำแบบประเมินโครงการด้านการฟื้นฟูอาชีพและส่งเสริมธุรกรรมออนไลน์เพื่อชุมชน ในพื้นที่เครือข่ายเตือนภัยชุมชนเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยแบบประเมินจัดทำขึ้นเพื่อศึกษาผลการดำเนินงานด้านการฟื้นฟูอาชีพและส่งเสริมธุรกรรมออนไลน์เพื่อชุมชน ภายใต้การทำงานของมูลนิธิฯ ร่วมมือกับภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน โดยนำข้อมูลดังกล่าวมาวิเคราะห์ สรุปผล สร้างรูปแบบการพัฒนาด้านอาชีพและการส่งเสริมธุรกรรมออนไลน์เพื่อชุมชนต่อไป