“อลงกรณ์” เดินหน้าพัฒนาศก.ฐานราก ใช้ ”เพชรบุรีโมเดล” นำร่องทั่วประเทศ

“อลงกรณ์”เดินหน้าพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก เร่งขับเคลื่อนคณะกรรมการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนระดับตำบล ลุยหนัก 2วัน 19ตำบล หวังใช้”เพชรบุรีโมเดล”เป็นตัวอย่างนำร่องทั่วประเทศ

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนระดับประเทศ พร้อมด้วยนายณฐกร สุวรรณธาดา คณะที่ปรึกษารัฐมนตรีเกษตร และดร.เรืองแสง ห้าสกุล ผู้อำนวยการสำนักงานเพชรบุรีโมเดล ลงพื้นที่จังหวัดเพชรบุรี 11 ตำบลวันนี้เพื่อขับเคลื่อนโครงการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนระดับตำบลมีวัตถุประสงค์ในการสร้างการรับรู้แนวทางการทำงานของคณะกรรมการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนระดับตำบลในจังหวัดเพชรบุรีและนโยบายโครงการสำคัญๆของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์โดยมีหัวหน้าส่วนราชการของกระทรวงเกษตรในส่วนภูมิภาคสำนักงานพาณิชย์จังหวัด อบต. กำนันผู้ใหญ่บ้าน อาสาสมัครเกษตร เกษตรกรรุ่นใหม่ เกษตรแปลงใหญ่ ศพก.วิสาหกิจชุมชน ผู้แทนAIC และทีมอาสาสมัครเพชรบุรีโมเดล ฯลฯ.เข้าร่วมประชุม ในพื้นที่ 11 ตำบลได้แก่ ตำบล ดอนยาง หนองขนาน หาดเจ้าสำราญ ประชุมที่วัดถิ่นปุรา ตำบลนาพันสามและหนองพลับ ประชุมที่วัดนาพรม ตำบลช่องสะแก บางจาน นาวุ้ง โพไร่หวาน ประชุมที่อบต.ช่องสะแก และ ตำบลโพพระ สำมะโรง ประชุมที่วัดลาดโพธิ์


นายอลงกรณ์และคณะมีกำหนดการลงพื้นที่อย่างต่อเนื่องในวันที่ 18 ตุลาคม ที่ตำบล บ้านแหลม บางครก ท่าแร้ง ท่าแร้งออก บางแก้ว ปากทะเล บางขุนไทร และแหลมผักเบี้ย ทั้งนี้จะมีการประชุมครบทั้ง8อำเภอของเพขรบุรีภายในเดือนนี้และเดือนหน้า

นายอลงกรณ์กล่าวว่า คณะกรรมการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนระดับตำบลอยู่ภายใต้คณะกรรมการบริหารการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนซึ่งเป็นคณะกรรมการระดับชาติโดยมีดร. เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธาน

ทั้งนี้คณะกรรมการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนระดับตำบลเป็นกลไกใหม่ในการยกระดับการพัฒนาหมู่บ้านตำบลเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนและหนี้สินของเกษตรกรโดยการผนึกพลังทุกภาคส่วนในหมู่บ้านตำบลโดยยึดหลักการพัฒนาโดยชุมชนเพื่อชุมชนเพื่อให้ประชาชนและชุมชนมีศักยภาพมากขึ้นและมีรายได้เพิ่มขึ้นด้วยแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนโดยหวังว่าเพชรบุรีจะเป็นโมเดลต้นแบบนำร่องของทุกหมู่บ้านตำบลทุกจังหวัดทั่วประเทศ ซึ่งขณะนี้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนระดับตำบลครบทั้ง7,255ตำบลใน76จังหวัดแล้ว กลไกดังกล่าวถือเป็นเครื่องมือการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากที่เล็กที่สุดลึกที่สุดและสำคัญที่สุด


ก่อนหน้านี้ ที่ปรึกษารัฐมนตรีและคณะได้จัดประชุมแบบทางไกลร่วมกับรองผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรีและศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรมเพชรบุรีที่มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีเพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนระดับตำบลกับ93ตำบล 8 อำเภอเมื่อวันที่ 20 กันยายนที่ผ่านมาถือเป็นการคิกออฟออกสตาร์ทที่เพชรบุรีเป็นจังหวัดแรก จากนั้นวันที่ 11 ตุลาคมได้จัดประขุมในระดับพื้นที่ตำบลต้นมะม่วง ตำบลหนองโสน ตำบลธงชัย ตำบลบ้านหม้อและตำบลบ้านกุ่ม ที่อบต.บ้านหม้อ เป็นครั้งแรก.