ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลการสำรวจของประชาชน เรื่อง “การสำรวจคะแนนนิยมทางการเมืองรายไตรมาส ครั้งที่3/2567” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 16-23 กันยายน 2567 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน2,000 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับคะแนนนิยมทางการเมือง การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0
จากการสำรวจเมื่อถามถึงบุคคลที่ประชาชนจะสนับสนุนให้เป็นนายกรัฐมนตรีในวันนี้ พบว่า อันดับ 1 ร้อยละ 31.35 ระบุว่าเป็น นางสาวแพทองธาร (อุ๊งอิ๊ง) ชินวัตร (พรรคเพื่อไทย) เพราะ มีความเป็นผู้นำ และมีความพยายามในการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน อันดับ 2 ร้อยละ 23.50 ระบุว่า ยังหาคนที่เหมาะสมไม่ได้ อันดับ 3 ร้อยละ 22.90 ระบุว่าเป็น นายณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ (พรรคประชาชน) เพราะ เป็นคนรุ่นใหม่ มีแนวคิดและทัศนคติที่ดี อันดับ 4 ร้อยละ 8.65 ระบุว่าเป็น นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค (พรรครวมไทยสร้างชาติ) เพราะ เป็นบุคคลที่มีความน่าเชื่อถือ และมีประสบการณ์ด้านการบริหาร อันดับ 5 ร้อยละ 4.80 ระบุว่าเป็นคุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ (พรรคไทยสร้างไทย) เพราะ มีความสามารถและประสบการณ์ในการบริหาร รวมถึงมีจุดยืนในการต่อต้านอำนาจเผด็จการทุกรูปแบบ อันดับ 6 ร้อยละ 4.00 ระบุว่าเป็น นายอนุทิน ชาญวีรกูล (พรรคภูมิใจไทย) เพราะ มีความเป็นกันเอง ตรงไปตรงมา ซื่อสัตย์สุจริต และมีจุดยืนในการทำงานที่ชัดเจน อันดับ 7 ร้อยละ 1.15 ระบุว่าเป็น พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ (พรรคพลังประชารัฐ) เพราะมีความเด็ดขาด และมีประสบการณ์ทางการเมือง ร้อยละ 2.80 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน(พรรคประชาธิปัตย์) นายชวน หลีกภัย (พรรคประชาธิปัตย์) นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา(พรรคประชาชาติ) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายวราวุธ ศิลปอาชา (พรรคชาติไทยพัฒนา) พันตำรวจเอกทวี สอดส่อง (พรรคประชาชาติ) พลตำรวจเอกเสรีพิศุทธ์ เตมียเวส (พรรคเสรีรวมไทย) นายกรณ์ จาติกวณิช และนายพริษฐ์ วัชรสินธุ และร้อยละ 0.85 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงพรรคการเมืองที่ประชาชนจะสนับสนุนในวันนี้ พบว่า อันดับ 1 ร้อยละ 34.25 ระบุว่าเป็น พรรคประชาชน อันดับ 2 ร้อยละ 27.15 ระบุว่าเป็น พรรคเพื่อไทยอันดับ 3 ร้อยละ 15.10 ระบุว่า ยังหาพรรคการเมืองที่เหมาะสมไม่ได้ อันดับ 4 ร้อยละ 9.95 ระบุว่าเป็น พรรครวมไทยสร้างชาติ อันดับ 5 ร้อยละ 4.40 ระบุว่าเป็น พรรคประชาธิปัตย์อันดับ 6 ร้อยละ 3.55 ระบุว่าเป็น
พรรคภูมิใจไทย อันดับ 7 ร้อยละ 2.05 ระบุว่าเป็น พรรคพลังประชารัฐ อันดับ 8 ร้อยละ 1.70 ระบุว่าเป็น พรรคไทยสร้างไทย ร้อยละ 1.10 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ พรรคประชาชาติ พรรคเพื่อไทยรวมพลัง พรรคเสรีรวมไทย และพรรคชาติไทยพัฒนา และร้อยละ 0.75 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 8.60 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ ร้อยละ 18.55 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคกลาง ร้อยละ 17.95 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 33.45 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 13.75 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ และร้อยละ 7.70 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออก ตัวอย่าง ร้อยละ 48.10 เป็นเพศชาย และร้อยละ51.90 เป็นเพศหญิง
ตัวอย่าง ร้อยละ 12.90 อายุ 18-25 ปี ร้อยละ 17.80 อายุ 26-35 ปี ร้อยละ 18.95 อายุ 36-45 ปี ร้อยละ 26.65 อายุ 46-59 ปี และร้อยละ 23.70 อายุ 60 ปีขึ้นไป ตัวอย่างร้อยละ 96.00 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 3.05 นับถือศาสนาอิสลาม และร้อยละ 0.95 นับถือศาสนาคริสต์และศาสนาอื่น ๆ
ตัวอย่าง ร้อยละ 36.30 สถานภาพโสด ร้อยละ 61.90 สมรส และร้อยละ 1.80 หม้ายหย่าร้าง แยกกันอยู่ ตัวอย่าง ร้อยละ 22.10 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ37.90 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 8.05 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 28.15 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 3.80 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 8.35 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ17.25 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 23.60 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระร้อยละ 10.85 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 16.05 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 19.30 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน และร้อยละ 4.60 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
ตัวอย่าง ร้อยละ 21.00 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 19.40 รายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน10,000 บาท ร้อยละ 31.70 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001-20,000 บาท ร้อยละ 10.60 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001-30,000 บาท ร้อยละ 4.80 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001-40,000 บาท ร้อยละ 4.30 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 8.20 ไม่ระบุรายได้
ใหม่ อิทธิพันธ์ บัวทอง
ปัจจุบันดำรงตำแหน่งนายกสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย อดีตบรรณาธิการบริหารข่าวช่อง 8 RS mall หมายเลข 27 , อดีตบรรณาธิการบริหารสถานีโทรทัศน์ true4U ดิจิตอลทีวี, กรรมการสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย อดีตผู้อำนวยการข่าว PostTV, อดีตบรรณาธิการข่าว TPBS อดีตรองผู้อำนวยฝ่ายข่าว TNN24 อดีตบรรณาธิการข่าวการเมืองสถานีข่าว TNN24 และASTV อดีตบรรณาธิการข่าวหนังสือพิมพ์วัฏจักร