กองบัญชาการตำรวจนครบาลแนะหลีกเลี่ยงเส้นทางจราจรพื้นที่ที่มีการชุมนุมในหลายจุด

พล.ต.ต.ปิยะ  ต๊ะวิชัย รอง ผบช.น. เปิดเผยเส้นทางจราจรที่ควรหลีกเลี่ยงกรณีเนื่องด้วยได้มีการประกาศผ่านโซเชียลต่างๆ นัดหมายชุมนุม 1.กลุ่มแนวร่วมแดงก้าวหน้า 63 ที่บริเวณโลตัสรังสิต และเคลื่อนขบวนมาที่บริเวณกรม ทม.ที่11 มหด.รอ. ในวันเสาร์ที่ 6 มี.ค.64 ในเวลา 13.00 น., 2.กลุ่มอาชีวะพิทักษ์ประชาชน เพื่อประชาธิปไตย ที่บริเวณกรมทหารราบที่ 11  ในวันเสาร์ที่ 6 มี.ค.64 ในเวลา 13.00 น. และ 3.กลุ่ม REDEM นัดหมายชุมนุมบริเวณห้าแยกลาดพร้าวและเคลื่อนขบวนมาบริเวณศาลอาญารัชดา ในวันเสาร์ที่ 6 มี.ค.64 เวลา 17.00 น. นั้น  จึงขอแจ้งให้ประชาชนที่จะมาเข้าร่วมการชุมนุมในวัน-เวลาดังกล่าวนั้น ทราบว่าท่านอาจมีความผิดและได้รับโทษตามกฎหมาย ดังต่อไปนี้

1.การร่วมกันชุมนุมที่ไม่เป็นไปตามมาตรการป้องกันโรคที่ทางราชการกำหนด เป็นความผิดตามมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน  2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

2.การกระทำใดๆ ซึ่งอาจก่อสภาวะที่ไม่ถูกสุขลักษณะ ที่เป็นเหตุให้เกิดโรคติดต่ออันตรายหรือโรคแพร่ระบาดออกไป ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ เป็นการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ.2558 มาตรา 34(6),51 ต้องระวางโทษ ปรับไม่เกิน 20,000 บาท

3.ร่วมกันใช้เครื่องขยายเสียงด้วยกำลังไฟฟ้าโดยไม่ได้รับอนุญาต เป็นการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียง พ.ศ.2493 มาตรา 4 ต้องระวางโทษ ปรับไม่เกิน 200 บาท

4.ผู้ใดมั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป โดยกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดให้เกิดความวุ่นวายขึ้นในบ้านเมือง เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 215 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

5.เมื่อเจ้าพนักงานสั่งผู้ที่มั่วสุมให้เลิกไป แล้วผู้ใดไม่เลิก เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 216 ต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

6.ผู้ใดวางเพลิงเผาทรัพย์สินให้เกิดความเสียหาย เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 217 ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 7 ปี และปรับตั้งแต่ 10,000 บาท ถึง 140,000 บาท

 7.การทำให้ทรัพย์สินสาธารณะประโยชน์เสียหาย เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 360 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

พร้อมด้วย พล.ต.ต.จิรสันต์ แก้วแสงเอก รอง ผบช.น. และ พล.ต.ต.ธีระพงษ์ วงษ์รัฐพิทักษ์ ผบก.จร. ขอประชาสัมพันธ์ข่าวสารให้ประชาชนผู้ใช้รถใช้ถนนได้รับทราบ กรณีวันที่ 6 มี.ค.2564 ตามที่ปรากฏทางสื่อโซเชียลมีเดีย ได้มีประกาศนัดรวมตัวของกลุ่มผู้ชุมนุมฯ “บริเวณโลตัสรังสิตแล้วเดินทางไปกรม ทม.ที่11 มหด.รอ.” “บริเวณห้าแยกลาดพร้าวแล้วเดินทางไปศาลอาญา”, บริเวณแยกราชประสงค์

จึงขอแจ้งข้อมูลข่าวสารด้านการจราจร โดยขอให้หลีกเลี่ยงเส้นทางตั้งแต่เวลา 13.00 น. เป็นต้นไป          จนเสร็จสิ้นการชุมนุมฯ ดังนี้

– บริเวณโลตัสรังสิตแล้วเดินทางไปกรม ทม. ที่11 มหด.รอ.

1. เส้นทางที่อาจได้รับผลกระทบและควรหลีกเลี่ยง

1.1) ถนนพหลโยธิน  (ตั้งแต่แยกเทพรักษ์ – แยกเกษตร)

1.2) ถนนรามอินทรา (ขาเข้า) พื้นราบ (ตั้งแต่สนามกอล์ฟ – วงเวียนบางเขน)

1.3) ถนนแจ้งวัฒนะ (ขาออก) พื้นราบ (ตั้งแต่หน้า ม.ราชภัฏพระนคร – วงเวียนบางเขน)

1.4) วงเวียนบางเขน (พื้นราบ)

1.5) อุโมงค์วงเวียนบางเขน 

1.6) ถนนผลาสินธุ์ (ตลอดสาย)

2. เส้นทางที่แนะนำให้ประชาชนไปใช้เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบด้านการจราจร

2.1) ถนนวิภาวดีรังสิต
2.2) ทางยกระดับโทลล์เวย์
2.3) ถนนรามอินทรา – ถนนแจ้งวัฒนะ (ให้ใช้สะพานข้ามวงเวียนบางเขน)2.4) ถนนเทพรักษ์ – ถนนวัชรพล
2.5) ถนนประดิษฐ์มนูธรรม – ถนนประเสริฐมนูกิจ – ถนนงามวงศ์วาน

2.6) ถนนลาดพร้าววังหิน – ถนนลาดปลาเค้า

2.7) ถนนเสนานิคม – ถนนลาดพร้าววังหิน
2.8) ถนนรัชดาภิเษก

2.9) ซอยรามอินทรา 39

2.10) ซอยรามอินทรา 14 (มัยลาภ)

             – บริเวณห้าแยกลาดพร้าวแล้วเดินทางไปศาลอาญา

1. เส้นทางที่อาจได้รับผลกระทบและควรหลีกเลี่ยง

  1.1) ห้าแยกลาดพร้าว (พื้นราบ)

  1.2) ถนนพหลโยธิน  ตั้งแต่ห้าแยกลาดพร้าว – แยกรัชโยธิน

  1.3) ถนนลาดพร้าว  ตั้งแต่ ห้าแยกลาดพร้าว – แยกรัชดาลาดพร้าว

  1.4) ถนนรัชดาภิเษก  ตั้งแต่ แยกรัชดาลาดพร้าว – แยกรัชโยธิน

2. เส้นทางที่แนะนำให้ประชาชนไปใช้เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบด้านการจราจร

  2.1) ถนนวิภาวดี-รังสิต  (ช่องทางหลัก)       2.7) ถนนโชคชัย 4

  2.2) ทางยกระดับโทลล์เวย์           2.8) ถนนสุทธิสารวินิจฉัย

2.3) ถนนประเสริฐมนูกิจ                       2.9) ถนนประดิพัทธิ์      
2.4) ถนนเสนานิคม                             2.10) ถนนกำแพงเพชร 2         
2.5) ถนนลาดปลาเค้า                          2.11) ซอยโชคชัยร่วมมิตร

2.6) ถนนลาดพร้าววังหิน                      2.12) ซอยวิภาวดีรังสิต 3

             – บริเวณแยกราชประสงค์

1. เส้นทางที่อาจได้รับผลกระทบและควรหลีกเลี่ยง

1.1) ถ.ราชดำริ  (แยกราชดำริ – แยกประตูน้ำ)
1.2) ถ.พระราม 1  (แยกเฉลิมเผ่า – แยกราชประสงค์)
1.3) ถ.เพลินจิต  (แยกราชประสงค์ – แยกชิดลม)   

2. เส้นทางที่แนะนำให้ประชาชนไปใช้เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบด้านการจราจร

2.1) ถ.ราชปรารภ                  2.7) ถ.พระราม 4

2.2) ถ.เพชรบุรี                      2.8) ถ.สาทร

2.3) ถ.สุขุมวิท                       2.9) ถ.สีลม

2.4) ถ.วิทยุ                          2.10) ถ.อังรีดูนังต์

2.5) ถ.หลังสวน                      2.11) ถ.พญาไท

2.6) ถ.สารสิน                        2.12) ซอยต้นสน