กรมอุตุฯเตือน 52 จังหวัด ฝนตกหนักถึงหนักมากระวังน้ำท่วม-น้ำป่า ‘กทม.-ปริมณฑล’ตกร้อยละ 80 ของพื้นที่ จับตาพายุโซนร้อน ‘โกนเซิน’

กรมอุตุนิยมวิทยาอัพเดตสถานการณ์พายุล่าสุด เวลา 04.00 น. (8/9/64) : พายุโซนร้อน “โกนเซิน” (CONSON) มีศูนย์กลาง บริเวณตอนกลางของประเทศฟิลิปปินส์ กำลังเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกค่อนทางเหนือเล็กน้อย คาดว่าจะเคลื่อนตัวลงสู่ทะเลจีนใต้ 9 ก.ย.64 และเคลื่อนตัวไปทางเกาะไหหลำลงสู่อ่าวตังเกี๋ยในช่วง12-13 ก.ย.64  

ส่วนพายุ “จันทู (CHANTHU)” บริเวณมหาสมุทรแปซิฟิก มีทิศทางเคลื่อนตัวทางเกาะไต้หวัน ขณะนี้พายุทั้งสองลูก ยังไม่มีผลกระทบกับบ้านเรา ต้องติดตามข่าวพยากรณ์อากาศและประกาศเตือนภัยจากกรมอุตุนิยมวิทยาเป็นระยะๆ  (ข้อมูลนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงตามข้อมูลนำเข้าใหม่ ใช้เพื่อเป็นแนวทางประกอบการตัดสินใจ

ภาคเหนือ มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนมากบริเวณจังหวัดน่าน แพร่ อุตรดิตถ์ พิษณุโลก พิจิตร เพชรบูรณ์ กำแพงเพชร และ ตาก อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง บริเวณจังหวัดเลย หนองบัวลำภู อุดรธานี หนองคาย บึงกาฬ นครพนม สกลนคร กาฬสินธุ์ มหาสารคาม ขอนแก่น ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี และ อำนาจเจริญ อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.

ภาคกลาง มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักหนักมากบางแห่ง บริเวณจังหวัดนครสวรรค์ ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา นครปฐม กาญจนบุรี ราชบุรี สมุทรสงคราม และ สมุทรสาคร อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.

ภาคตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง บริเวณจังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และ ตราด อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-32 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก) มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณจังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ และ ชุมพร อุณหภูมิต่ำสุด 24-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก) มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณจังหวัดระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ และ ตรัง อุณหภูมิต่ำสุด 21-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร

กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 26-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-32 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.

แผนที่แสดงพื้นที่เสี่ยงภัยฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณประเทศไทย ประจำวันที่ 8 กันยายน 2564 เวลา 05.00 น.

พยากรณ์ฝนรวมทุกๆ 24 ชม. 10 วันล่วงหน้า (7-17 ก.ย.64) (ระหว่างเวลา 07.00น. – 07.00 น.วันรุ่งขึ้น) จาก ECMWF 2021090712 : 9–10 ก.ย. 64 ร่องมรสุมยังคงพาดผ่านภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคอีสาน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณทะเลจีนใต้ ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางยังคงพัดปกคลุม  #ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ขอให้ประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณพื้นที่เสี่ยงภัยในภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคตะวันออก ภาคกลาง (รวม กทม.และปริมณฑล) และภาคใต้ ระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากได้

ส่วน 11 – 17 ก.ย. 64 #ร่องมรสุมจะเลื่อนขึ้นมาพาดภาคเหนือและภาคอีสานตอนบน ทำให้ฝนที่ตกหนักบริเวณประเทศไทยมีน้อยลง แต่ยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง ทางตอนบน คลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น โดยบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง ในระยะนี้

สำหรับพายุโซนร้อน “โกนเซิน” (CONSON) ที่ปกคลุมตอนกลางของประเทศฟิลิปปินส์ กำลังเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกค่อนทางเหนือเล็กน้อย คาดว่าจะเคลื่อนตัวลงสู่ทะเลจีนใต้ในวันที่ 9 กันยายน 2564 และเคลื่อนผ่านเกาะไหหลำลงสู่อ่าวตังเกี๋ยในช่วงวันที่ 12-13 กันยายน 2564  ต้องติดตามข่าวพยากรณ์อากาศและประกาศเตือนภัยจากกรมอุตุนิยมวิทยาเป็นระยะๆ

ส่วนพายุ “จันทู (CHANTHU)” มีทิศทางเคลื่อนตัวทางเกาะไต้หวัน ขณะนี้พายุทั้งสองลูก ยังไม่มีผลกระทบกับบ้านเรา (ข้อมูลนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงตามข้อมูลนำเข้าใหม่ ใช้เพื่อเป็นแนวทางประกอบการตัดสินใจ)