สรุปการประเมินประสิทธิผลวัคซีนโควิด-19 จากการใช้จริงในประเทศไทย

🔺การฉีดวัคซีนทุกประเภท ทุกสูตร มีประสิทธิผลสูงมาก (90-100%) ในการป้องกันการป่วยรุนแรงและการเสียชีวิต

🔺การฉีดวัคซีนครบ 2 เข็มประเภทเดียวกัน มีประสิทธิผลสูงพอควร ในการป้องกันการติดเชื้อ โดยประสิทธิผลจะลดลงเมื่อเวลาผ่านไปหลังฉีดวัคซีน

🔺การฉีดเข็มสามในผู้ที่ได้รับวัคซีนครบ 2 เข็ม เพิ่มประสิทธิผลการป้องกันการติดเชื้อให้สูงขึ้นและช่วยควบคุมการระบาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ

🔺การฉีดวัคซีนเข็มสามในผู้ที่ได้รับวัคซีนเชื้อตายมาก่อน ไม่ว่าเป็นประเภท AZ หรือ PF มีประสิทธิผลการป้องกันการติดเชื้อและเสียชีวิตได้สูงไม่แตกต่างกัน

🔺ผู้ที่ได้รับวัคซีนเข็มสามกระตุ้นทั้งสูตรเข็มสาม AZ และ PF บ่งชี้ว่ายังมีประสิทธิผลป้องกันการติดเชื้อสายพันธุ์โอมิครอนได้สูง (80-90%) จากเหตุการณ์การระบาดที่จังหวัดกาฬสินธุ์

🟢นโยบายการบริหารจัดการวัคซีนเข็มกระตุ้นของกระทรวงสาธารณสุข เดือนมกราคม 2565 ผ่านมติที่ประชุมศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข กรณี โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 วันที่ 15 ธันวาคม 2564

🔷ผู้ที่ถึงกำหนดรับวัคซีนเข็มกระตุ้น

🔹ผู้ที่ได้รับวัคซีน Sinovac-AstraZeneca ครบ ในเดือนสิงหาคม-ตุลาคม 2564 ให้พิจารณาฉีดเข็มกระตุ้น ด้วยวัคซีน AstraZeneca เป็นหลัก

🔹ผู้ที่ได้รับวัคซีน AstraZeneca ครบ 2 เข็ม ในเดือนสิงหาคม-ตุลาคม 2564 ให้พิจารณาฉีดเข็มกระตุ้นด้วยวัคซีน Pfizer

🔹ผู้ที่ได้รับวัคซีนเชื้อตายครบ 2 เข็ม ตั้งแต่ 4 สัปดาห์ขึ้นไป ให้พิจารณาฉีดเข็มกระตุ้นด้วยวัคซีน AstraZeneca เป็นหลัก

🔷การให้วัคซีนเข็มกระตุ้นในผู้ที่มีประวัติการติดเชื้อ

🔹ให้ฉีดวัคซีน AstraZeneca กระตุ้น ในผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีนไม่ครบเกณฑ์ หรือ ครบตามเกณฑ์น้อยกว่า 2 สัปดาห์ก่อนการติดเชื้อ

ทั้งนี้สามารถใช้สูตรอื่นที่ผ่านการรับรองทางวิชาการได้ ภายใต้จำนวนวัคซีนที่มีในพื้นที่