ศาสตราจารย์ พิรงรอง รามสูต กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือกสทช. ( กสทช. ด้านกิจการโทรทัศน์ ) ให้สัมภาษณ์ กับสื่อมวลชน หลังขึ้นแสดงวิสัยทัศน์ กสทช.ยุคใหม่ บนเวที”โลกเปลี่ยนสื่อต้องปรับ รับมือ MetaVerse” เนื่องในโอกาสครบรอบ 22 ปี สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย
ศาสตราจารย์ พิรงรอง ยอมรับว่า การเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีในยุคปัจจุบัน เป็นส่วนสำคัญในการทำงานด้านสื่อในทุกแพลตฟอร์ม โดยเฉพาะการทำงานของสื่อโทรทัศน์ ซึ่งที่ผ่านมาพบว่าผู้ประกอบการของสื่อโทรทัศน์ซึ่งเป็นสื่อหลัก ปรับตัวได้อย่างดีมาตลอด โดยเฉพาะการนำเนื้อหาลงสู่แพลตฟอร์มออนไลน์เพื่อให้เข้าถึงผู้รับสารในทุกกลุ่ม
ยืนยันว่า การเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ยุค MetaVerse โลกเสมือนจริง เหนือจักรวาล ตามความหมายของเทคโนโลยีนี้กสทช.พร้อมรับมือและให้การสนับสนุนได้หลายส่วน โดยเฉพาะผู้ประกอบกิจการโทรทัศน์ รวมถึงด้านโทรคมนาคมในแง่การกำกับดูแล มองว่า อะไรที่เกินความจำเป็น ก็สามารถลอคอร์สให้เข้าถึงดิจิทัลแพลตฟอร์มได้ง่ายขึ้น ส่วนเรื่องคอนเท้นท์หรือเนื้อหา ก็จะสนับสนุนไม่ให้ถูกมองว่า คอนเท้นท์กระจุกอยู่ในสื่อประเภทใดประเภทหนึ่ง ไม่ใช่แค่ซีรีส์ หนัง ละคร หรือข่าว ทำให้เป็นในลักษณะข้ามแพลตฟอร์มได้
พร้อมมองว่า สื่อทีวี ปรับตัวมาเยอะและเข้าสู่ออนไลน์มากขึ้น แต่สิ่งสำคัญมากกว่านั้น คือ ไม่ควรมองข้ามเรื่องความถูกต้องของเนื้อหาภายใต้จริยธรรม ซึ่งกังวลว่า หาก สื่ออยู่ในโลก MetaVerse ซึ่งไม่มีพรมแดนที่ชัดเจนในคำว่าดิจิทัลออนไลน์ ส่งผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือ เพราะบางทีคนในสังคมออนไลน์อาจจะป้อนข้อมูลที่บิดเบือน หรือFake News จึงต้องอาศัย สื่อทีวี เป็นเสาหลักในการตรวจสอบเพื่อความถูกต้องและความน่าเชื่อถือของสื่อเอง
สอดคล้องกับ นายอภิรักษ์ หาญพิชิตวณิชย์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ในคณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ด้านสื่อสารมวลชน มองว่า ถือเป็นโจทย์ยาก ในวิชาชีพสื่อสารมวลชน ที่กำลังจะก้าวสู้ยุค MetaVerse หรือโลกเสมือนจริง ที่ไร้พรมแดน เนื่องเทคโนโลยีดังกล่าวลงทุนสูง ขณะที่กลุ่มเป้าหมายคนดู ก็จะเลือกดูในสิ่งที่ตนเองชอบเป็นหลัก และจะมาในเรื่องของเรตติ้ง
บาวครั้งบางสื่อ อาจจะชื่นชอบความนิยม เรตติ้งมากกว่าความน่าเชื่อถือและความถูกต้อง เช่น บางเรื่องอาจจะเป็นเรื่องของ Sex อาชญากรรม ข่มขืน หรือเรื่องอะไรที่คนอยากดูสร้างเรตติงได้ แต่ไม่ช่วยยกระดับสังคม
ซึ่งมองว่า หากภาครัฐทุกองค์กรที่เกี่ยวข้อง ไม่ได้มาช่วยดูแลไม่ช่วยสนับสนุน ช่วยเหลือการผลิตสื่อคุณภาพ ก็อาจจะทำให้สื่อบางส่วนไหลไปตามกระแสของความนิยมในทางที่ผิดๆ เพื่อประคองให้ธุรกิจของตัวเองให้ยู่รอดได้นั่นเป็นสิ่งน่ากังวลอย่างมาก
เพราะสุดท้ายเนื้อหาที่ถูกนำเสนอเป็นเรื่องสำคัญมากกว่าเรตติ้ง ที่จะช่วยยกระดับสังคม เช่น สื่อคุณภาพที่นำเสนอเนื้อหาที่ดีทางด้านสังคม เป็นประโยชน์กับสังคม แต่ไม่ได้รับความนิยม และไม่ได้รับการสนับสนุนจากภาคเอกชน ก็อาจจะทำให้สื่อเหล่านั้นไม่สามารถอยู่รอดได้ และหันกลับไปผลิตสื่อตามความนิยมของเรตติ้ง ที่ได้ช่วยสร้างสรรค์สังคม
จึงมองว่า ทุกองค์กร หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องควรให้ความสำคัญ ไม่ใช่แค่กำกับดูแล แต่ควรให้การสนับสนุนสื่อน้ำดีด้วย
ทั้งนี้เวทีเสวนา “โลกเปลี่ยนสื่อต้องปรับ รับมือ MetaVerse” จัดขึ้นเนื่องในโอกาสครบรอบ 22 ปี สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย โดยตลอดเช้า ถึง ช่วงเย็น มีตัวแทนผู้บริหารสื่อทีวี ออนไลน์ และผู้บริหารกิจการด้านโทรคมนาคมร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น พร้อมเปิดโอกาสให้ประชาชน ที่สนใจร่วมรับฟังเวทีเสวนาดังกล่าว ซึ่งลงทะเบียน ล่วงหน้า เข้ารับฟังหารเสวนาภายในงานดังกล่าว ภายใต้การปฎิบัติตามกฎกระทรวงสาธารณสุข โดยทุกคนที่ร่วมงานต้องผ่านการตรวจคัดกรอง และตรวจ ATK เพื่อเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโควิด อย่างเคร่งครัด
บทความที่เกี่ยวข้อง
ใหม่ อิทธิพันธ์ บัวทอง
ปัจจุบันดำรงตำแหน่งบรรณาธิการบริหารข่าวช่อง 8 RS mall หมายเลข 27 , อดีตบรรณาธิการบริหารสถานีโทรทัศน์ true4U ดิจิตอลทีวี, กรรมการสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย อดีตผู้อำนวยการข่าว PostTV, อดีตบรรณาธิการข่าวTPBS อดีตรองผู้อำนวยฝ่ายข่าว TNN24 อดีตบรรณาธิการข่าวการเมืองสถานีข่าว TNN 24 และASTV อดีตบรรณาธิการข่าวน.ส.พ.วัฏจักร