หัวดำอยากเทศน์ ”ไอ้ไข่” วัดเจย์ดี จังหวัดนครศรีธรรมราช บารมีเหนือพระเหนือวัด หรือคิดว่า วัดใช้ไอ้ไข่มาช่วยให้คนทำบุญก็ไม่ผิด : นายคักคน บาเรียน

พระพุทธสอนทฤษฎีกรรม หรือ “กัมมวาที” สอนให้ศาสนิกเชื่อกรรม และผลการกระทำ อย่างปลูกมะม่วง ก็ได้กินมะม่วงไม่ใช่ได้มะพร้าว เชื่อการลงมือทำเอง ไม่รอผลดลบันดาลแห่งเทพ หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ใดๆ

บรรดาสิ่งแปลกปลอมที่ได้มานอกจากนี้ ท่านไม่อธิบายตรงๆ เพราะไม่อยากเปิดช่องให้คนหลงไหลคาดคอย

ในอรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท ปาปวรรคที่ ๙ เล่าว่า

 ครั้งหนึ่งอนาถบิณฑิกเศรษฐีธุรกิจท่านเกิดเป็นเอ็นพีแอล เคยถวายบิณฑบาตด้วยอาหารรสเลิศแก่ภิกษุ ก็ถวายเพียงน้ำข้าวต้มเท่านั้น จนเทวดาเฝ้าประตูบ้านแปลงร่างเป็นคน ไปบอกว่าเลิกๆไปทำมาหากิน ตัดบิณฑบาตพระเสีย เศรษฐี(ไม่ขอหวย) ไล่เทวดาออกจากบ้านไป

เทวดาจึงตกประตู หนีไปขอพึ่งเทวดาองค์อื่นๆเขาก็ไล่ไป(หน้าจะไม่ใช่หน้าที่) จนไปพบเทวดามเหศักดิ์ ได้รับคำแน่นำว่า ไปขอขมาเขาเสียและบอกขุมทรัพย์ที่เขาเคยมีอยู่ซุกอยู่ที่นั่นเพื่อกู้ฐานะ เทวดาทำตามเศรษฐีได้ฐานะเดิมคืน ถวายบิณฑบาตด้วยอาหารดั่งเดิมได้

คนไทยเราวันนี้

สร้างสิ่งดลบันดาลเพื่อรวยลัดๆขึ้นมา  ที่เป็นซูปตาร์คือรูปปั้น”ไอ้ไข่” วัดเจย์ดี จังหวัดนครศรีธรรมราช บารมีเหนือพระเหนือวัด หรือคิดว่า วัดใช้ไอ้ไข่มาช่วยให้คนทำบุญก็ไม่ผิด เพราะตามข่าวแล้วไอ้ไข่ให้คนรวย หรือให้โชคลาภ ไม่เน้นคงกระพันชาตรี เขา(ไอ้ไข่)อาจไปขอเทวดาองค์อื่น มามีส่วนไขทรัพย์แก่คนที่ไปทำบุญก็ได้ คลายๆกับเทวดาเฝ้าประตูบ้านอนาถบิณฑิกเศรษฐี  ก็พอจะมองเทียบดีได้

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุยลเดช ทรงพระราชนิพนธ์ “พระมหาชนก” ชี้ให้เห็นว่า มหาชนกนั้นเมื่อเรือแตก ว่ายน้ำทะเลอย่างไร้ฝั่ง ขณะนางมณีเมขลาถามว่า ว่ายไปทำไมนี้ ท่านก็บอกว่า หน้าที่ท่านคือว่ายน้ำเป้าหมายไปหาฝั่ง จะไม่ขอร้องเทวดาให้ช่วย เพราะหน้าที่ช่วยหรือไม่เป็นการตัดสินจาก”กรรม” ถ้าสำหรับกรรมดีพึงเคยมีมาก่อน ก็สามารถเข้าฝั่งได้ แต่หากกรรมเสริมเทวดาอยากสร้างบุญหรือกรรมดีด้วย ก็พาให้ถึงฝั่งเอง

 ภาษาพระว่า

“วิริเยน ทุกขมัตเจติ”

                                                               นายคักคน  บาเรียน