รัฐบาลเดินหน้า “1 กีฬา 1 รัฐวิสาหกิจ”

น.ต.วรวิทย์ เตชะสุภากูร ร.น. อดีตผู้ช่วยรัฐมนตรีฯ โพสต์เรื่อง “1 กีฬา 1รัฐวิสาหกิจกลับมาแล้ว” มีข้อเสนอเสริม เพิ่มเติม เผื่อใช้ประโยชน์ได้บ้าง ดังนี้

เห็นไลน์คำสั่งสำนักนายกฯ เกี่ยวกับเรื่องการสนับสนุนกีฬาโดยรัฐวิสาหกิจฯ กับข่าวผลงานเอเชี่ยนเกมส์ที่เพิ่งจบไป คุ้มไม่คุ้มกับงบที่ลงไปไม่ว่ากัน

พี่วิทย์เอง ได้ช่วยงานคณะอนุ กมธ.กีฬาและนันทนาการเพื่อสุขภาพและการออกกำลังกายของประชาชน ขอร่วมแชร์ประเด็นการพัฒนากีฬาของชาติว่า มีจุดอ่อนหนึ่ง คือ การเริ่มสร้างและพัฒนานักกีฬา ตั้งแต่เด็กๆเยาวชน

เพราะการที่จะให้น้องๆเหล่านั้น รักการออกกำลังกาย มีสุขภาพที่ดี เริ่มฝึกซ้อมเล่นกีฬา พัฒนาต่อยอดไป เป็นนักกีฬาโรงเรียน ระดับอำเภอ จังหวัด ไปเป็นทีมชาติ (เพื่อความเป็นเลิศ) ในระดับ อาเซียน เอเชีย หรือโอลิมปิก เรื่อยไปจนถึง เป็นกีฬาอาชีพได้นั้น ยังทำได้ระดับหนึ่งเท่านั้น ยังทำดีกว่านี้ได้แน่

ย้อนที่ผ่านมา เมื่อมีการแข่งขันอะไร ก็จะมาหยิบ หรือเลือกจากน้องๆที่มีผลงาน หรือสถิติดีๆ ไปเป็นตัวแทนทีมชาติเลย

ทั้งที่ช่วงแรกสุดตอนสร้างนักกีฬา หรือการดึงให้น้องๆ เริ่มนับหนึ่งนั้น สำคัญมากๆๆ ใคร?เป็นคนทำ ยาวหน่อย แต่อยากให้อ่านนะ

ที่ผ่านมา กรมพลศึกษายังไหวไหมตอนนี้กรมก็มีข้าราชการเหลือ 300 คน จพล.อีกไม่ถึง 900 คน ได้งบน้อยมาก เทียบกับภารกิจ ทั้งประเทศ

ทางเลือกหนึ่งที่พี่วิทย์ เคยเสนอไว้คือ “1จังหวัด 2 ชนิดกีฬา” โดยการกีฬาแห่งประเทศไทยหรือ กกท. อาจจับมือกับกรมพลศึกษา ทำบูรณาการงบประจำปีของกรม  และ/หรือของบกองทุนพัฒนากีฬาชาติ ที่มีเงินสมทบจากการเก็บภาษีสุรายาสูบปีละ 4 พันล้านบาท มาส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรม หรือพัฒนาและเตรียมนักกีฬา

ลองนำร่องจัดงบให้แต่ละจังหวัด ผ่าน “สมาคมกีฬาจังหวัด” จังหวัดละ 10 ล้านต่อปี จังหวัดยังมีเครือข่ายความร่วมมืออื่นๆอีก รัฐจ่าย760 ล้านบาทต่อปี ให้ไปสร้างนักกีฬาตามชนิดกีฬาต่างๆที่ จังหวัดนั้นๆ มีความพร้อมหรือมีศักยภาพอยู่บ้างแล้ว  เช่น ฟุตบอล มวยสากล บาส วอลเลย์ ฯลฯ

โดยมีตัวชี้วัดชัดเจน เช่นว่าภายใน 3 ปี ต้องติดทีมชาติ หรือต้องได้เหรียญ”ซีเกมส์”  จังหวัดใดทำได้ ก็เพิ่มงบให้อีก+ปรับเพิ่มเป้าหมาย  จังหวัดไหนยังทำไม่ได้  ก็มาปรับแผน ทบทวนเงินกันใหม่ เพื่อให้ต่อเนื่อง  และวัดผลงานความสำเร็จได้จริง

ส่วนอีกทางเลือกหนึ่งคือ”1กีฬา 1รัฐวิสาหกิจ” ก็เคยทำสำเร็จมาแล้ว แนวนี้ก็น่าสนับสนุนเช่นกันครับ

เงินรางวัลตอนได้เหรียญมานั้น  เป็นเรื่องปลายทางก็ทำต่อไป เป็นขวัญกำลังใจ แต่ขอบอกว่าการจัด”งบ”ในการ”สร้าง”นักกีฬา เป็นเรื่องต้นทางเลยนะ

พี่วิทย์ก็เชื่อว่า”กีฬา” จะเป็น อีกหนึ่ง Soft Power ที่ช่วยฟื้นเศรษฐกิจได้ ส่งต่อถึงอุตสาหกรรมกีฬาที่เกี่ยวเนื่องด้วย แถม “ส่งออกนักกีฬาและบุคลากร”ที่เกี่ยวเนื่อง นำเงินรายได้เข้าประเทศได้อีกด้วย

สุดท้ายช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายด้านสาธารณสุขลงได้อีกเยอะด้วยครับ

ช่วยกันสนับสนุนนะ..พี่วิทย์เชียร์ครับ

#พี่วิทย์  #HumanLoveEarth #วรวิทย์เตชะสุภากูร  #สุขภาพ #ท่องเที่ยวและกีฬา #1กีฬา1รัฐวิสาหกิจ #1จังหวัด2ชนิดกีฬา #สมาคมกีฬาจังหวัด #กีฬาเพื่อความเป็นเลิศ #กีฬาอาชีพ