ตกลงผึ้งเลียนแบบแย่ๆจากสังคมมนุษย์หรือมนุษย์ควรเรียนรู้เรื่องดีๆจากผึ้งก็ไม่ทราบล่ะ
แต่เราอาจต้องเรียนรู้จากอิสราเอลที่กำลังเรียนรู้จากผึ้งกันอีกทีในท่ามกลางความชุลมุนเรื่องโควิด19จริงๆ
ที่แน่ๆตอนนี้ กรุณาเริ่มทำกันได้เลย คือ คิดถึงสิ่งแวดล้อม ลดใช้สารเคมี ลดการปล่อยไอเสีย ลดการทำลายป่า รักษาต้นไม้ให้ดีๆ และคิดถึงผึ้ง(ที่มีปีกบินได้)ทุกเช้าที่ตื่นนอนกันนะครับ…#วีระศักดิ์ โควสุรัตน์
ผึ้ง:สัตว์สังคมที่เราต้องเรียนรู้ในภาวะโควิด19
ในขณะที่มนุษย์กำลังวุ่นอยู่กับการลงทุนหาวัคซีนต้านไวรัส
ในห้องทดลองกว่า200แห่งทั่วโลก
แม้ยังหาไม่เจอ แต่ประเด็นสนทนาเรื่องนี้มักจะวนเวียนอยู่กับเรื่อง ถ้าหาสูตรวัคซีนเจอ ความรู้นี้ต้องเปิดเผยให้เป็นสมบัติและความรู้สาธารณะหรือไม่
เรื่องนี้อารมณ์เกือบจะคล้าย compulsory licensing หรือ CL ยาต้านโรคเอดส์
หรือถ้าหาวัคซีนพบจากสารตั้งต้นที่มีอยู่ในครอบครองของบางประเทศเท่านั้นแล้ว โลกควรมีสิทธิเข้าถึงวัตถุดิบนั้นกันอย่างไร
และถ้าผลิตวัคซีนได้เป็นจำนวนไม่มากเท่าที่ต้องใช้กับคน7พันล้านคน
เราควรมีวิธีจัดการกับวัคซีนอันมีอยู่จำกัดนั้นด้วยวิธีใด
เงินอาจไม่ใช่คำตอบสุดท้ายแน่ แต่เงินคงเป็นคำตอบที่ถูกนำมาใช้เป็นกรณีแรก และคงมีใครต่อใครเสนอเงินตอบแทนที่สูงขึ้นๆ คู่ขนานกับเส้นทางแห่งการแย่งชิงไป
อาวุธและการใช้กำลังเข้ายุดแย่งและคุ้มกันวัคซีนก็คงมาบ่อยพอๆกับเงิน
วัคซีนปลอมคงถูกผลิตกันออกมาอย่างหลากหลาย และเข้าปะปนในตลาดอย่างรวดเร็ว
นี่คือสังคมมนุษย์ ที่เมื่อมีภัยมา มีโอกาสมา มนุษย์ก็จะทำอย่างนี้กับแทบจะทุกเรื่อง
เงินและอำนาจ ตลอดถึงกำลังรบ เป็นปัจจัยตัดสินเสมอมา
จะแย่งดินแดน จะแย่ง rare earth จะแย่งความเป็นเจ้าของอาวุธนิวเคลียร์ จะแย่งน้ำมัน ตลอดถึงจะแย่งหน้ากากอนามัยและเครื่องช่วยหายใจ
ก็แบบนี้
เดือนพฤษภาคม ปี2020 ที่ผ่านมา
อิสราเอลหันมาศึกษาว่าในเมื่อโลกทั้งใบถูกไวรัสโควิด19คุกคามถ้วนทั่วแล้วอาการของมนุษยชาติก็คงจะตอบสนองประมาณที่ผมเขียนสาธยายมาอย่างข้างต้นนี่แหละ
อิสราเอลทำเกษตรน้ำหยดมานานมากกว่าใคร ใช้วิทยาศาสตร์มาผสมกับการจัดการการเกษตรกลางทะเลทราย ทำระบบชลประทานโดยท่อจนปลูกไม้ดอกไม้ประดับส่งยุโรป!
เลี้ยงปลาค้อด ปลาแซลมอน ในถังน้ำพลาสติคเพื่อส่งขายในซุปเปอร์มาร์เก็ตในยุโรปอเมริกา
ปลูกส้ม ปลูกมัน ปลูกผัก ส่งออก
แต่ทั้งหมดนี้ อิสราเอลก็ใช้ผึ้งผสมเกษรตัวผู้ตัวเมีย ไม่ได้ต่างจากพื้นที่เพาะปลูกหรือป่าในที่อื่นของโลกอยู่ดี ผึ้งเป็นผู้ผสมเกสรกว่า3ใน4ของการติดผลในโลกนี้
โดยมีอุตสาหกรรมการเลี้ยงผึ้งที่คอยสนับสนุนพื้นที่เกษตร เพราะชาวสวนก็ชอบที่จะได้การผสมเกสรแล้วติดเป็นดอกเพื่อออกเป็นผล
คนเลี้ยงผึ้งก็ได้ผลิตภัณฑ์จากผึ้ง เช่นน้ำผึ้ง ขี้ผึ้ง และสารสกัดต่างๆ
แต่ในสหรัฐ ค่านำรถบรรทุกขนผึ้งไปปล่อยในฟารม์เพาะปลูกใหญ่ๆ ได้ราคาดีกว่าเก็บน้ำผึ้งขายอย่างมาก
บางช่วงในอดีต จีนและสหรัฐซึ่งเป็นทั้งผู้ผลิตและส่งออกสินค้าเกษตรรายใหญ่ของโลก มีผึ้งในประเทศไม่พอใช้งาน ถึงกับต้องนำเข้าผึ้งจากต่างประเทศมาร่วมปฏิบัติการชั่วครั้งชั่วคราวอยู่บ่อย
แต่พอโควิดระบาด การปิดพรมแดนใส่มนุษย์จึงเท่ากับปิดพรมแดนใส่ผึ้งผสมเกสรที่เพาะเลี้ยงไว้ด้วย
ผลผลิตของการเกษตรจากบางแหล่งผลิตของโลกอาจถดถอยอย่างที่ไม่เคยคาดกันมาก่อน
ในศตวรรษที่ผ่านมา ควันไอเสียจากเครื่องจักรเครื่องยนต์ การใช้ยากำจัดศัตรูพืช สารเคมีการเษตร ไฟป่าจากมือมนุษย์ได้ทำลายผึ้งไปโดยไม่ตั้งใจ และจากไปอย่างเงียบๆในทุกทวีป
อิสราเอลพบว่าปริมาณผึ้งของโลกในทุกทวีปลดลงใกล้จะถึง40%
และเข้าใจดีว่า ถ้านักผสมเกสรดอกไม้มืออาชีพที่สั่งสมทักษะมานับล้านปีจะหายไป
อะไรจะเกิดขึ้นกับวงการเพาะปลูก อันเป็นต้นธารของระบบอาหารทั้งปวง
ต่อให้โลกมีน้ำดิบที่สะอาดใช้กันเหลือเฟือได้
แต่พืชส่วนมากก็จะไม่อาจขยายพันธ์ตัวเองได้ ถ้าไม่ถูกผสมเกษร
มีที่ผสมจากลมพัดพา หรือจากฝีมือสัตว์อื่น
แต่เทียบแชมป์อย่างผึ้งไม่มีทางทาบติด
จริงอยู่ว่าถ้าไม่มีพืชผัก ตลาดอาจบอกว่าให้กินเห็ดแทน แต่เห็ดก็ทดแทนพืชไม่ได้ในแง่วิตามิน
และถ้าไม่มีหญ้า ไม่มีพืช ปศุสัตว์ทั้งหลายก็ไปต่อไม่ได้เช่นกันอยู่ดี
ถ้าไม่มีธัญพืช ไม่มีปศุสัตว์ ไม่มีผักหญ้า ไม่มีผลไม้
แล้วมนุษยชาติและสัตว์บกทุกชนิด จะอยู่กันต่อได้กี่นาน
อัลเบิรต์ ไอนสไตน์เคยกล่าวไว้อย่างน่าสนใจว่า
ถ้าผึ้งหมดจากโลกนี้ไปวันใด อีกหกปีต่อมา มนุษย์ก็จะหายไปหมดตามไป
มนุษย์อาจจับสัตว์น้ำมากินแทนได้อีกระยะ แต่การประมงเกินขนาดและการปล่อยให้สารพิษตลอดจนขยะและไมโครบีทของพลาสติคที่เริ่มย่อยสลายไปในห่วงโซ่อาหารแพร่กระจายอย่างหนักในทะเลและแหล่งน้ำ ก็จะย้อนกลับมาเล่นงานมนุษย์อยู่ดี
อิสราเอลจึงหันมาทำการศึกษาผึ้งครับ
ผึ้งเป็นสัตว์สังคมเหมือนมนุษย์
ขยันขันแข็ง
แบ่งบทแบ่งหน้าที่
แต่ธำรงเป้าหมายใหญ่เดียวกัน
สามัคคีไม่มีแก่งแย่ง
ไม่มีผึ้งที่ยกพวกตีกันระหว่างรัง
ไม่มีการปิดรังทำปฏิวัติยึดอำนาจ
ไม่มีการปราศรัยทำแผนใต้ดิน
ไม่มีการขังใครไว้ในตะราง
และไม่มีการสะสมสมบัติส่วนตัว
ผึ้งตัวหนึ่งมีวงจรชีวิตที่ราว21วัน
ในเมืองไทย มีการใช้รังผึ้งมาแปะแขวนเป็นช่วงๆ เรียงกันไปไว้ใกล้กับแนวเขตป่าที่ช้างป่ามักออกมาลุยสวนผลไม้หรือพืชไร่
เพราะเสียงหึ่งของผึ้งเป็นฝูงโต เป็นเสียงที่ช้างทั้งโขลงรู้โดยสัญชาตญาณ ว่า …อย่าแหยม!!
มนุษย์เรียนเรื่องผึ้งมาตั้งแต่ประถมปลายกัน แต่ดูมนุษย์จะยังไม่เลียนแบบผึ้งกันมากเท่าที่ได้เรียนเรื่องผึ้ง
เมษายนปีนี้ แล้ปในสหรัฐกำลังสนใจพิษจากเหล็กในผึ้ง ซึ่งร้ายแรงและมีฤทธิ์ในการกระตุ้นการทำงานของแอนติบอดี้ในตัวมนุษย์และเหยื่อให้ทำงานอย่างดุเดือด ว่าพิษนี้จะสามารถนำมาใช้อะไรกับการต่อสู้กับโควิด19ได้อีกบ้าง
อิสราเอลอธิบายว่า ผึ้งที่ได้กินแต่น้ำหวานดอกไม้จากเกษตรแปลงเดี่ยว ปลูกแต่พืชอย่างเดิมๆไปนานเข้า สุขภาพของตัวผึ้งจะเริ่มลดแรงต้านทานต่อสิ่งแปลกปลอมเช่น ทนต่ออากาศที่เปลี่ยนแปลงได้น้อยลง ทนเชื้อโรคและต่อสู้กับไวรัสที่โจมตีได้น้อยลง
ในทางกลับกัน ถ้าผึ้งรังไหนได้รับน้ำหวานจากพืชพันธุ์หลากหลาย สุขภาพทั้งรังก็จะดี
อิสราเอลพบว่าในหนึ่งรัง จะมีผึ้งที่แหวกเหล่าอยู่เช่นกัน
มีตัวที่ไม่ขยัน เป็นโรค และขาดวินัยความรับผิดชอบ คล้ายมนุษย์ก็มี
แต่ผึ้งรังก็ไม่ได้ขับมันออกไป ไม่ขังมันไว้ แต่ดูจะมีวิธีบริหารทางสังคมเพื่อรักษาสุขภาวะของส่วนที่เหลือของรังอย่างน่าสนใจ
อิสราเอลติดตั้งกล้องวงจรปิดขนาดจิ๋ว มีคอมพิวเตอร์ AI คอยวิเคราะห์พฤติกรรมผึ้งทั้งรังว่ามีพัฒนาการอะไรต่อภัยคุกคาม เพื่อนำมาถอดเป็นความรู้ให้คิดและเข้าใจตาม
รวมทั้งพยายามดูว่าโดวิด19 จะทำให้ผึ้งป่วยหรือไม่ และถ้ามันเป็นตัวรับเชื้อแล้วบินกลับรัง แล้วรังเริ่มรู้การติดเชื้อ ระบบของรังจะตอบสนองอย่างไร
ถ้าผึ้งรับหรือสัมผัสกับเชื้อโควิด19 แล้วมันจะมิกลายเป็นผู้ช่วยแพร่กระจายเชื้อให้เดินทางไกลขึ้นหรือ?
แล้วแมลงต่างๆก็เป็นพาหะได้ด้วยหรือเปล่า เช่นแมลงวันที่ตอมอาหาร!!
ชักเหงื่อตกแล้วใช่มั้ยครับ?
ผึ้งเป็นสัตว์สังคม มันไม่มีระบบsocial distancing ไม่มีหน้ากาก แต่มันล้างมือไม้ ทำความสะอาดตัวมันสม่ำเสมอ
แต่ต้องเข้าใจว่าผึ้งหากินกลางวันแล้วกลับมาอยู่รังดูทีวีเข้านอนด้วยกันทุกคืน
ข้อค้นพบใหม่จากรายงานข่าวของอิสราเอลบอกว่า ผึ้งที่ไม่สบายถูกแอบพาโดยพวกของมันไปลักลอบหลบสายตาของผึ้งยาม รังใกล้ๆเพื่อเข้านอนที่อีกรังในแถวนั้นอย่างขาดความรับผิดชอบ!!!
ในขณะเดียวกัน ผึ้งที่รับรู้ว่ามีผึ้งป่วยอยู่ใกล้บริเวณ ก็เริ่มมีการสัมผัสตัวกันและกันน้อยลง จนAI จับสังเกตได้!!!
ตกลงผึ้งเลียนแบบแย่ๆจากสังคมมนุษย์หรือมนุษย์ควรเรียนรู้เรื่องดีๆจากผึ้งก็ไม่ทราบล่ะ
แต่เราอาจต้องเรียนรู้จากอิสราเอลที่กำลังเรียนรู้จากผึ้งกันอีกทีในท่ามกลางความชุลมุนเรื่องโควิด19จริงๆ
ที่แน่ๆตอนนี้ กรุณาเริ่มทำกันได้เลย คือ คิดถึงสิ่งแวดล้อม ลดใช้สารเคมี ลดการปล่อยไอเสีย ลดการทำลายป่า รักษาต้นไม้ให้ดีๆ
และคิดถึงผึ้ง(ที่มีปีกบินได้)ทุกเช้าที่ตื่นนอนกันนะครับ…
วีระศักดิ์ โควสุรัตน์
กรรมาธิการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ของวุฒิสภา
12 กรกฎาคม 2020
บทความที่เกี่ยวข้อง
ใหม่ อิทธิพันธ์ บัวทอง
ปัจจุบันดำรงตำแหน่งบรรณาธิการบริหารข่าวช่อง 8 RS mall หมายเลข 27 , อดีตบรรณาธิการบริหารสถานีโทรทัศน์ true4U ดิจิตอลทีวี, กรรมการสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย อดีตผู้อำนวยการข่าว PostTV, อดีตบรรณาธิการข่าวTPBS อดีตรองผู้อำนวยฝ่ายข่าว TNN24 อดีตบรรณาธิการข่าวการเมืองสถานีข่าว TNN 24 และASTV อดีตบรรณาธิการข่าวน.ส.พ.วัฏจักร