“อลงกรณ์ พลบุตร”ระดมทีมกรมชลประทานและจังหวัดเพชรบุรีเร่งรับมือสถานการณ์น้ำท่วม

เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2564 นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นประธานการประชุมรับมือสถานการณ์น้ำท่วมที่โครงการชลประทานเขื่อนเพชรหลังจากฝนตกหนักที่เพชรบุรีเมื่อคืนที่ผ่านมาร่วมกับนายทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทาน ณัฐวุฒิ เพ็ชรพรหมศร รองผู้ว่าเพชรบุรี นายสันต์ จรเจริญ ผู้อำนวยการโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาเพชรบุรี นายสมเกียรติ แจ่มจันทร์ ผู้อำนวยการโครงการชลประทานเพชรบุรี ตัวแทนเทศบาลเมืองเพชรบุรี รักษาการผอ.สำนักชลประทานที่14 และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยนายอลงกรณ์กล่าวภายหลังการประชุมว่าจากสถานการณ์ฝนตกหนักเหนืออ่างเก็บน้ำและใต้อ่างเก็บน้ำทั้ง3แห่งคือแก่งกระจาน แม่ประจันต์และห้วยผากเมื่อวานนี้ทำให้มีมวลน้ำจากลุ่มน้ำทั้ง3ไหลลงมาที่เชี่ยนเพชรจำนวนมาก

ที่ประชุมจึงกำหนดแผนการระบายน้ำในคลองชลประทานหลัก4สายและแม่น้ำเพชรบุรีอย่างเป็นระบบให้มีผลกระทบต่อประชาชนและขุมชน2ฝั่งแม่น้ำเพชรบุรีน้อยที่สุดพร้อมกับแจ้งเตือนล่วงหน้าให้ประชาชนริมฝั่งแม่น้ำและในพื้นที่ลุ่มต่ำยกของขึ้นที่สูงระมัดระวังเรื่องไฟฟ้าและย้ายสัตว์เลี้ยงไปไว้ในที่ปลอดภัยพร้อมกับให้ท้องถิ่นเสริมแนวตลิ่งที่ต่ำป้องกันน้ำล้นฝั่ง ในส่วนกรมชลประทานได้ระดมเครื่องสูบน้ำเครื่องผลักดันน้ำและเครื่องจักรกลช่วยเหลือจังหวัดเพชรบุรีอย่างเต็มที่ตามข้อสั่งการของดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีเกษตรฯและนายประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทาน

นอกจากนี้ยังได้ประสานพลเรือเอก ดร.สมัย ใจอินทร์ขอการสนับสนุนเครื่องดันน้ำจากกองทัพเรือซึ่งส่งมาช่วยเพชรบุรีทุกครั้งที่ประสบภัยน้ำท่วมและขอการสนับสนุนกำลังพลและเครื่องจักรกลจากพล.อ.ชัยชาญ ช้างมงคล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหมและอดีตสมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศโดยเพื่อช่วยป้องกันน้ำท่วมและช่วยระบายน้ำท่วมขังในพื้นที่ขุมชนเมืองและพื้นที่เกษตร 

“น้ำท่วมครั้งนี้เป็นการท่วมแบบล้นตลิ่งและท่วมที่ลุ่มต่ำเฉพาะบางพื้นที่ในระยะสั้นไม่ได้ท่วมทั้งจังหวัดจึงไม่มีผลกระทบต่อการค้าธุรกิจ และการท่องเที่ยวในวงกว้างแต่อย่างใด ส่วนพื้นที่เกษตรที่ได้รับความเสียหายจะได้รับการดูแลช่วยเหลือเยียวยาจากทางราชการโดยเร็วต่อไป”

นายอลงกรณ์  ยังชี้แจงกรณีอ่างเก็บน้ำห้วยกวางโจนแตกว่า เป็นอ่างขนาดเล็กอยู่ในพื้นที่ชายเขาตะวันตกในอำเภอหนองหญ้าปล้องความจุ1.5แสนคิวที่กรมชลประทานโอนให้ท้องถิ่นไปแล้วเกิดความเสียหายจากฝนที่ตกหนักมีน้ำท่วมหลายสิบหลังคาเรือนซึ่งทางจังหวัดได้เข้าไปช่วยเหลือในทันทีแล้วและสำนักงานชลประทานที่14ได้ส่งเครื่องจักรกลไปทำการซ่อมแซมตั้งแต่วันนี้”

บทความที่เกี่ยวข้อง