ยอดโควิดรวม ATK 32,968 ราย หมอมนูญแนะรัฐบาลเปลี่ยนยุทธศาสตร์สู้โควิด-19 เน้นลดจำนวนผู้ป่วยหนัก และเสียชีวิตแทนการลดผู้ติดเชื้อ

ศบค.รายงานสถานการณ์การติดเชื้อ COVID-19 ในประเทศ ข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2565

ผู้ป่วยรายใหม่ 18,363 ราย  ผู้ป่วยยืนยันสะสม 526,126 ราย  หายป่วยแล้ว 389,302 ราย เสียชีวิตสะสม 993 ราย

ข้อมูลสะสมตั้งแต่ปี 2563  ผู้ป่วยยืนยันสะสม 2,749,561 ราย  หายป่วยแล้ว 2,557,796 ราย  เสียชีวิตสะสม 22,691 ราย ระหว่างวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 – 21 กุมภาพันธ์ 2565

มีผู้รับวัคซีน สะสมทั้งหมด จำนวน 121,915,999 โดส

วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2565 มีผู้รับการฉีดวัคซีน

เข็มที่ 1 จำนวน 36,655 ราย

เข็มที่ 2 จำนวน 24,981 ราย

เข็มที่ 3 จำนวน 129,037 ราย

ขณะที่กรมควบคุมโรคเผยแพร่ผลตรวจ ATK พบว่า ติดเชื้อ 14,605 ราย ส่วน 11 จังหวัดที่ติดเชื้อสูงสุด ได้แก่ กทม. 2,650 ราย ตามด้วย ชลบุรี 938 ราย, สมุทรปราการ 893 ราย, นนทบุรี 792 ราย, ภูเก็ต 755 ราย, นครศรีธรรมราช 741 ราย, นครราชสีมา 717 ราย, สมุทรสาคร 595 ราย, นครปฐม 479 ราย, สุรินทร์ 425 ราย และบุรีรัมย์ 414 ราย  โดยมีรายละเอียดดังนี้

นายแพทย์มนูญ ลีเชวงวงศ์ หัวหน้าห้องไอซียู เฉพาะทางด้านโรคระบบการหายใจ ผู้ป่วยหนัก และโรคผู้สูงอายุ โรงพยาบาลวิชัยยุทธ  โพสต์FB โดยระบุว่า ประเทศไทยควรเปลี่ยนเป้าหมายจากการลดจำนวนผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 เป็นการลดจำนวนผู้ป่วยหนักและเสียชีวิตหลังการติดเชื้อ

การป้องกันการติดเชื้อทำได้ยาก เพราะเชื้อสายพันธุ์โอมิครอน BA.1 และ BA.2 ติดกันง่ายมาก แพร่ทางอากาศ อย่างเก่งทำได้แค่ชะลอเวลาติดเชื้อออกไปสักพัก เพื่อใช้เวลานี้รีบฉีดวัคซีนให้กับคนที่ยังไม่ได้ฉีดวัคซีนแม้แต่เข็มเดียว และฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นให้กับคนที่ได้รับวัคซีน 2 เข็มแล้ว

วัคซีนช่วยลดความรุนแรง ป่วยหนักและเสียชีวิตได้มากกว่าร้อยละ 90 ในขณะนี้ประเทศไทยมีวัคซีนที่มีประสิทธิภาพสูงทั้งแอสตร้าเซเนก้าและไฟเซอร์หรือโมเดอร์นา เพียงพอสำหรับคนในประเทศทุกคน แต่มีคนจำนวนมากยังกลัวผลข้างเคียงของวัคซีน และปฏิเสธการฉีดวัคซีน รัฐบาลต้องสื่อสารให้ประชาชนเข้าใจ อย่างน้อยร้อยละ 90 ของกลุ่มคนสูงอายุ คนที่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง 7 โรค และหญิงตั้งครรภ์ ให้ได้รับวัคซีน 2 เข็ม และอย่างน้อยร้อยละ 60 ของกลุ่มเสี่ยงนี้ได้รับการฉีดเข็มกระตุ้นเป็นเข็มที่ 3

วัคซีนเป็นการลงทุนที่ได้ผล และคุ้มค่าที่สุดในการลดการป่วยหนักและเสียชีวิตจากโรคโควิด

สำหรับคนกลุ่มเสี่ยงทึ่ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 และยังไม่ได้ฉีดวัคซีน หรือยังฉีดไม่ครบ กลุ่มนี้ควรจะได้รับยาต้านไวรัสชนิดกิน Paxlovid ไม่ใช่ยาฟาวิพิราเวียร์ รีบให้ทันทีภายใน 5 วันที่เริ่มมีอาการ จะสามารถลดการป่วยหนักและเสียชีวิตได้ร้อยละ 90  ปัญหาคือยานี้ยังไม่เข้าประเทศไทย ต้องรออย่างน้อยอีก 2-3 เดือนข้างหน้ากว่าบริษัทยาจะผลิตยาได้มากเพียงพอสำหรับความต้องการของทุกประเทศ

บทความที่เกี่ยวข้อง