ผบ.ตร.เตรียมเสนอกระทรวงยุติธรรม ปรับแก้ไขกฎหมายกำหนดโทษคดีเด็กไม่ต้องรับโทษ จากอายุไม่เกิน 15 ปี เป็น 14 ปี รวมทั้งแนวทางพิจารณาคดี ให้มุ่งเน้นพฤติการณ์กระทำผิดมากขึ้น เพื่อให้สอดคล้องบริบทสังคม คุ้มครองความปลอดภัยประชาชนส่วนรวม

วันนี้ (15 ก.พ.67)  พล.ต.ท.อาชยน ไกรทอง โฆษก ตร. เปิดเผยว่า “สืบเนื่องจากกรณีที่มีข่าวปรากฏว่า มีเหตุเด็กชายวัย 14 ปี ก่อเหตุยิงบุคคลในบริเวณศูนย์การค้า และเหตุกลุ่มเยาวชนรุมทำร้ายผู้อื่นถึงแก่ความตายในพื้นที่ สภ.อรัญประเทศ ซึ่งการก่อเหตุในลักษณะดังกล่าว เป็นเหตุให้เกิดความสูญเสียต่อร่างกาย ชีวิตและทรัพย์สิน สร้างความหวาดกลัวภัยให้กับประชาชน

.

พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล ผบ.ตร. จึงมอบหมายให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พิจารณาอายุการกระทำความผิดของเด็กและเยาวชนในห้วงปี พ.ศ.2559 – 2566 พบว่า

.

1. กลุ่มคดีอุกฉกรรจ์ ห้วงอายุ 10 – 18 ปี รวมทั้งสิ้น 1,645 คดี โดยอายุที่กระทำความผิดสูงสุด ได้แก่ อายุ 17 ปี(418 คดี) อายุ 18 ปี(416 คดี) และ อายุ 16 ปี(367 คดี) ตามลำดับ โดยนับแต่ พ.ศ.2565 เป็นต้นมา เริ่มพบว่าผู้ก่อเหตุอยู่ในห้วงอายุ 10 – 18 ปี มีแนวโน้มสูงขึ้น คดีที่ก่อเหตุสูงสุด ได้แก่ ฆ่าผู้อื่น (954 คดี) ปล้นทรัพย์ (109 คดี) และชิงทรัพย์ (97 คดี) ตามลำดับ

.

2. กลุ่มคดีความผิดเกี่ยวกับชีวิต ร่างกาย รวมทั้งสิ้น 4,318 คดี โดยอายุที่กระทำผิดสูงสุด ได้แก่ อายุ 18 ปี (1,398 คดี) อายุ 17 ปี (1,025 คดี) อายุ 16 ปี (805 คดี) ตามลำดับ โดยพบว่ามีผู้กระทำความผิดที่อายุต่ำกว่า 10 ปี จำนวน 20 คดี และพบว่าห้วงอายุ 10 – 18 ปี ตั้งแต่ พ.ศ.2560 เป็นต้นมา เริ่มสูงขึ้น โดยเป็นความผิดทำร้ายผู้อื่นถึงแก่ความตายสูงถึง 1,860 คดี

.

3. กลุ่มคดีความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ รวมทั้งสิ้น 5,903 คดี  โดยอายุที่กระทำความผิดสูงสุด ได้แก่ อายุ 18 ปี(1,820 คดี) อายุ 17 ปี(1,137 คดี) และอายุ 16 ปี(960 คดี) ตามลำดับ โดยพบว่าผู้กระทำความผิดอายุต่ำกว่า 10 ปี จำนวน 29 คดี และพบว่าห้วงอายุ 10 – 18 ปี เริ่มมีการกระทำความผิดตั้งแต่ปี พ.ศ.2562 เป็นต้นมา โดยเป็นความผิดลักทรัพย์ 2972 คดี ฉ้อโกง 921 คดี และวิ่งราวทรัพย์ 57 คดี

.

จะเห็นได้ว่าแนวโน้มการกระทำความผิดของเด็กและเยาวชนในคดีอุกฉกรรจ์ ชีวิตหรือร่างกาย ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ มีแนวโน้มสูงขึ้น และเกณฑ์อายุของผู้กระทำความผิดผู้อายุน้อยลง 

.

แม้ข้อมูลทางการวิจัยกระบวนการยุติธรรมทางอาญาสำหรับเด็กและเยาวชนยึดหลัก มุ่งคุ้มครองเด็กและเยาวชน เน้นการสงเคราะห์ บำบัดฟื้นฟู แก้ไข เยียวยา เพื่อคำนึงถึงอนาคตของเด็กและเยาวชน แต่อย่างไรก็ตาม ในการพิจารณาการกำหนดโทษ สามารถกำหนดมาตรการที่เหมาะสมกับพฤติการณ์ได้ เช่น ความผิดร้ายแรง การกระทำความผิดซ้ำ  จึงอาจกำหนดโทษจำคุก เพื่อให้หลาบจำได้สำหรับเด็กและเยาวชนในบางกรณีได้  

.

โดยแนวทางการดำเนินการของต่างประเทศ เช่น ประเทศฝรั่งเศสและอังกฤษ กำหนดอายุเด็กไม่เกิน 10 ปี  ไม่ต้องรับโทษ ซึ่งเกณฑ์อายุน้อยกว่าประเทศไทยที่กำหนดอายุไม่เกิน 12 ปี ส่วนในประเทศเยอรมนี แคนนาดา ฝรั่งเศส จะพิจารณาเกณฑ์อายุและประเภทความผิดร้ายแรงประกอบกัน เพื่อกำหนดโทษจำคุกสำหรับเด็กและเยาวชนได้เช่นเดียวกับผู้ใหญ่ ทั้งนี้ ข้อเสนอแนะทั่วไปสหประชาชาติ (ฉบับที่ 10) ตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กที่กำหนด “เกณฑ์อายุขั้นต่ำที่บุคคลจะมีความรับผิดอาญาไม่ควรต่ำกว่า 12 ปีและบุคคลอายุ 18 เป็นผู้บรรลุนิติภาวะ”

.

ผบ.ตร.เตรียมเสนอกระทรวงยุติธรรม ปรับแก้ไขกฎหมายกำหนดโทษคดีเด็กไม่ต้องรับโทษ จากอายุไม่เกิน 15 ปี เป็น 14 ปี รวมทั้งแนวทางพิจารณาคดี ให้มุ่งเน้นพฤติการณ์กระทำผิดมากขึ้น เพื่อให้สอดคล้องบริบทสังคม คุ้มครองความปลอดภัยประชาชนส่วนรวม

.

วันนี้ (15 ก.พ.67)  พล.ต.ท.อาชยน ไกรทอง โฆษก ตร. เปิดเผยว่า “สืบเนื่องจากกรณีที่มีข่าวปรากฏว่า มีเหตุเด็กชายวัย 14 ปี ก่อเหตุยิงบุคคลในบริเวณศูนย์การค้า และเหตุกลุ่มเยาวชนรุมทำร้ายผู้อื่นถึงแก่ความตายในพื้นที่ สภ.อรัญประเทศ ซึ่งการก่อเหตุในลักษณะดังกล่าว เป็นเหตุให้เกิดความสูญเสียต่อร่างกาย ชีวิตและทรัพย์สิน สร้างความหวาดกลัวภัยให้กับประชาชน

.

พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล ผบ.ตร. จึงมอบหมายให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พิจารณาอายุการกระทำความผิดของเด็กและเยาวชนในห้วงปี พ.ศ.2559 – 2566 พบว่า

.

1. กลุ่มคดีอุกฉกรรจ์ ห้วงอายุ 10 – 18 ปี รวมทั้งสิ้น 1,645 คดี โดยอายุที่กระทำความผิดสูงสุด ได้แก่ อายุ 17 ปี(418 คดี) อายุ 18 ปี(416 คดี) และ อายุ 16 ปี(367 คดี) ตามลำดับ โดยนับแต่ พ.ศ.2565 เป็นต้นมา เริ่มพบว่าผู้ก่อเหตุอยู่ในห้วงอายุ 10 – 18 ปี มีแนวโน้มสูงขึ้น คดีที่ก่อเหตุสูงสุด ได้แก่ ฆ่าผู้อื่น (954 คดี) ปล้นทรัพย์ (109 คดี) และชิงทรัพย์ (97 คดี) ตามลำดับ

.

2. กลุ่มคดีความผิดเกี่ยวกับชีวิต ร่างกาย รวมทั้งสิ้น 4,318 คดี โดยอายุที่กระทำผิดสูงสุด ได้แก่ อายุ 18 ปี (1,398 คดี) อายุ 17 ปี (1,025 คดี) อายุ 16 ปี (805 คดี) ตามลำดับ โดยพบว่ามีผู้กระทำความผิดที่อายุต่ำกว่า 10 ปี จำนวน 20 คดี และพบว่าห้วงอายุ 10 – 18 ปี ตั้งแต่ พ.ศ.2560 เป็นต้นมา เริ่มสูงขึ้น โดยเป็นความผิดทำร้ายผู้อื่นถึงแก่ความตายสูงถึง 1,860 คดี

.

3. กลุ่มคดีความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ รวมทั้งสิ้น 5,903 คดี  โดยอายุที่กระทำความผิดสูงสุด ได้แก่ อายุ 18 ปี(1,820 คดี) อายุ 17 ปี(1,137 คดี) และอายุ 16 ปี(960 คดี) ตามลำดับ โดยพบว่าผู้กระทำความผิดอายุต่ำกว่า 10 ปี จำนวน 29 คดี และพบว่าห้วงอายุ 10 – 18 ปี เริ่มมีการกระทำความผิดตั้งแต่ปี พ.ศ.2562 เป็นต้นมา โดยเป็นความผิดลักทรัพย์ 2972 คดี ฉ้อโกง 921 คดี และวิ่งราวทรัพย์ 57 คดี

.

จะเห็นได้ว่าแนวโน้มการกระทำความผิดของเด็กและเยาวชนในคดีอุกฉกรรจ์ ชีวิตหรือร่างกาย ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ มีแนวโน้มสูงขึ้น และเกณฑ์อายุของผู้กระทำความผิดผู้อายุน้อยลง 

.

แม้ข้อมูลทางการวิจัยกระบวนการยุติธรรมทางอาญาสำหรับเด็กและเยาวชนยึดหลัก มุ่งคุ้มครองเด็กและเยาวชน เน้นการสงเคราะห์ บำบัดฟื้นฟู แก้ไข เยียวยา เพื่อคำนึงถึงอนาคตของเด็กและเยาวชน แต่อย่างไรก็ตาม ในการพิจารณาการกำหนดโทษ สามารถกำหนดมาตรการที่เหมาะสมกับพฤติการณ์ได้ เช่น ความผิดร้ายแรง การกระทำความผิดซ้ำ  จึงอาจกำหนดโทษจำคุก เพื่อให้หลาบจำได้สำหรับเด็กและเยาวชนในบางกรณีได้  

.

โดยแนวทางการดำเนินการของต่างประเทศ เช่น ประเทศฝรั่งเศสและอังกฤษ กำหนดอายุเด็กไม่เกิน 10 ปี  ไม่ต้องรับโทษ ซึ่งเกณฑ์อายุน้อยกว่าประเทศไทยที่กำหนดอายุไม่เกิน 12 ปี ส่วนในประเทศเยอรมนี แคนนาดา ฝรั่งเศส จะพิจารณาเกณฑ์อายุและประเภทความผิดร้ายแรงประกอบกัน เพื่อกำหนดโทษจำคุกสำหรับเด็กและเยาวชนได้เช่นเดียวกับผู้ใหญ่ ทั้งนี้ ข้อเสนอแนะทั่วไปสหประชาชาติ (ฉบับที่ 10) ตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กที่กำหนด “เกณฑ์อายุขั้นต่ำที่บุคคลจะมีความรับผิดอาญาไม่ควรต่ำกว่า 12 ปีและบุคคลอายุ 18 เป็นผู้บรรลุนิติภาวะ”

.

สำนักงานตำรวจแห่งชาติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เห็นคล้องตรงกันว่า สังคมไทยควรจะพิจารณากำหนดเกณฑ์อายุของเด็กหรือเยาวชน ขึ้นใหม่ เพื่อสอดคล้องกับสภาวการณ์ปัจจุบัน สามารถบังคับใช้กฎหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ   โดยอาจเสนอการแก้ไขกฎหมาย ป.อาญา มาตรา 74  จากเดิมกำหนดเด็กอายุกว่า 10 ปี แต่ไม่เกิน 15 ปี กระทำผิดไม่ต้องรับโทษ เป็น เด็กอายุกว่า 10 ปี แต่ไม่เกิน 14 ปี แทน 

รวมทั้งพิจารณาบังคับใช้ตามมาตรา 97 วรรคสองฯ แห่ง พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวฯ พ.ศ.2553 มาใช้ในการดำเนินการให้มากขึ้น ซึ่งกำหนดไว้ใจความว่า  คดีอาญาที่อยู่ในอำนาจศาลเยาวชนและครอบครัว ถ้าศาลพิจารณาโดยคำนึงถึงสภาพร่างกาย สภาพจิต สติปัญญา และนิสัยแล้ว เห็นว่าในขณะกระทำความผิด หรือในระหว่างการพิจารณา  เด็กและเยาวชนที่ต้องหาว่ากระทำความผิดมีสภาพเช่นเดียวกับบุคคลที่มีอายุตั้งแต่สิบแปดปีบริบูรณ์ขึ้นไป ให้ศาลมีอำนาจสั่งโอนคดีไปพิจารณาในศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีธรรมดาได้

ทั้งนี้ ข้อเสนอดังกล่าว สำนักงานตำรวจแห่งชาติจะได้รวบรวมเสนอกระทรวงยุติธรรม และหน่วยงานเกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาในการแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับเด็ก เยาวชนให้ตรงกับสถาพบริบทสังคมต่อไป เพื่อให้การบังคับใช้กฎหมาย เกิดประสิทธิภาพ คุ้มครองความปลอดภัยในชีวิตทรัพย์สินของประชาชนส่วนรวม. สำนักงานตำรวจแห่งชาติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เห็นคล้องตรงกันว่า สังคมไทยควรจะพิจารณากำหนดเกณฑ์อายุของเด็กหรือเยาวชน ขึ้นใหม่ เพื่อสอดคล้องกับสภาวการณ์ปัจจุบัน สามารถบังคับใช้กฎหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ   โดยอาจเสนอการแก้ไขกฎหมาย ป.อาญา มาตรา 74  จากเดิมกำหนดเด็กอายุกว่า 10 ปี แต่ไม่เกิน 15 ปี กระทำผิดไม่ต้องรับโทษ เป็น เด็กอายุกว่า 10 ปี แต่ไม่เกิน 14 ปี แทน 

รวมทั้งพิจารณาบังคับใช้ตามมาตรา 97 วรรคสองฯ แห่ง พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวฯ พ.ศ.2553 มาใช้ในการดำเนินการให้มากขึ้น ซึ่งกำหนดไว้ใจความว่า  คดีอาญาที่อยู่ในอำนาจศาลเยาวชนและครอบครัว ถ้าศาลพิจารณาโดยคำนึงถึงสภาพร่างกาย สภาพจิต สติปัญญา และนิสัยแล้ว เห็นว่าในขณะกระทำความผิด หรือในระหว่างการพิจารณา  เด็กและเยาวชนที่ต้องหาว่ากระทำความผิดมีสภาพเช่นเดียวกับบุคคลที่มีอายุตั้งแต่สิบแปดปีบริบูรณ์ขึ้นไป ให้ศาลมีอำนาจสั่งโอนคดีไปพิจารณาในศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีธรรมดาได้

ทั้งนี้ ข้อเสนอดังกล่าว สำนักงานตำรวจแห่งชาติจะได้รวบรวมเสนอกระทรวงยุติธรรม และหน่วยงานเกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาในการแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับเด็ก เยาวชนให้ตรงกับสถาพบริบทสังคมต่อไป เพื่อให้การบังคับใช้กฎหมาย เกิดประสิทธิภาพ คุ้มครองความปลอดภัยในชีวิตทรัพย์สินของประชาชนส่วนรวม.