泰國官員讚中國大象保育 象群狀態好-鳳凰秀สัมภาษณ์พิเศษ วีระศักดิ์ โควสุรัตน์ รองปธ.กมธ.การทรัพยากรธรรมชาติฯ วุฒิสภา อดีตรมว.การท่องเที่ยวและกีฬา บนเส้นทางอนุรักษ์ช้างไทยสู่การอนุรักษ์ช้างจีน

ที่จีนแผ่นดินใหญ่ในเดือนเศษที่ผ่านมา เกิดปรากฏการณ์ประชาชนนับล้านตื่นเต้นสนใจและเฝ้าติดตามข่าวสารเกี่ยวกับข่าวช้างป่าโขลงหนึ่งราว15ตัว (ช้างป่าเรียกเป็นตัว ในขณะที่ช้างบ้านเรียกเป็นเชือก)ออกเดินทาง โดยยังไม่ทราบสาเหตุ และมีลูกช้างในโขลงมาด้วยหลายเชือก โดยเดินทางรอนแรมจากตอนใต้ของมณฑลยูนนานขึ้นเหนือมาถึงประมาณ 500 กิโลเมตร ทั้งยังเดินเข้าเขตเมืองและผ่านเส้นทางที่มีเรื่องท้าทายหลายอย่าง

ทางการจีนได้ให้ความสำคัญยิ่งต่อเรื่องนี้ จึงเร่งส่งคณะเจ้าหน้าที่ออกติดตามช่วยเหลือช้างโขลงนี้อย่างเร่งด่วน แม้ช้างเหล่านี้ได้ก่อให้เกิดความเสียหายตามพื้นที่ที่เดินทางผ่านเข้าไป ทั้งจากการย่ำ การขวางเส้นทางจราจร การต้องมีการกันเขตพื้นที่ของเมืองทีละส่วนเพื่อป้องกันมิให้มีใครเผลอกระทำอันตรายต่อช้าง หรือต้องตกอยู่ในอันตรายจากช้างป่า ได้กลายเป็นโมเม้นท์น่ารักน่าประทับใจของชาวจีนอีกครั้ง  โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่จีนมีความสำเร็จในหลายด้านของการพัฒนาเศรษฐกิจ เทคโนโลยี และการเพิ่มขึ้นของประชากรสัตว์ป่ารวมทั้งช้างอีกทั้งโลกยุคไซเบอร์ของจีนก็กำลังขยายตัวอย่างทั่วถึงและไม่เคยมีมาก่อนในระดับนี้เช่นกัน จึงทำให้เรื่องราวความรู้เกี่ยวกับช้าง ได้รับการค้นหามากเป็นพิเศษ

จีนแผ่นดินใหญ่มีช้างป่าทั้งประเทศเพียงประมาณ300-400ตัว (ไทยมีช้างในป่าราว4~5พันตัว) ช้าง จึงเป็นหนึ่งในสัตว์ป่าคุ้มครองสูงสุดอีกอย่าง

ในประวัติศาสตร์จีนมีหลักฐานทางโบราณคดีที่รับรู้บทบาทความสำคัญของช้างมานานนับพันปี สะท้อนออกมาในรูปเครื่องปั้นและภาพเขียนรูปช้างที่มีอายุย้อนไปได้ถึงสมัยพุทธกาล

สถานีโทรทัศน์ของทางการจีน ฟีนิกซ์ทีวี ได้ติดต่อขอสัมภาษณ์พิเศษคุณวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ รองประธานกรรมาธิการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของวุฒิสภาไทย อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวของไทยที่เคยมีประสบการณ์เกี่ยวกับช้าง เพื่อขอความเห็นเกี่ยวกับปรากฏการณ์ครั้งนี้

http://share.fengshows.com/article.html?id=3320b945-05b3-4a2d-9951-63515f9eec54&channelID=r06&time=1623424993.207590

泰國官員讚中國大象保育 象群狀態好-鳳凰秀

อย่างไรก็ดีสาเหตุที่ยังมีการเร่งสืบค้นกันต่อไปก็คืออะไรเป็นเหตุให้ช้างที่ประชาชนจีนกำลังหวงแหนและเต็มไปด้วยความสนใจเหล่านี้ ออกเดินทางจากแหล่งที่อยู่อาศัยในเขตอนุรักษ์ช้างป่าโดยเฉพาะในทางตอนใต้ของจีน ขึ้นมาทางเหนือ เป็นสิ่งที่กลุ่มนักอนุรักษ์จากทั่วโลกกำลังให้ความสนใจอย่างยิ่งที่จะคลี่คลายต่อไป