พล.อ.สมเจตน์ บุญถนอม นำส.ว.อภิปรายไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้ง 6 ร่าง หวั่นเกิดความแตกแยกเกิดขึ้นในสังคม และอาจขัดต่อรัฐธรรมนูญ ขณะนี้ส.ส.รัฐบาลและฝ่ายค้านอภิปรายสนับสนุนการแก้ไขมาตรา 256 ตั้งส.ส.ร.มายกร่างรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ พร้อมเรียกร้องส.ว.ช่วยโหวตเพื่อแก้ไขสถานการณ์ที่ที่เกิดขึ้น

การประชุมรัฐสภาเพื่อพิจารณาวาระเรื่องด่วน 6 ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ..) พุทธศักราช …. วันที่ 2 เริ่มขึ้นตั้งแต่เช้าท่ามกลางการรักษาความปลอดภัยโดยรอบรัฐสภาอย่างเข้มงวดเพราะในเย็นวันนี้จะมีการชุมนุมหน้ารัฐสภา โดยตำรวจได้จัดกำลังจำนวน 4 กอง เพื่อสลับผลัดเปลี่ยนดูแลความปลอดภัยจนการประชุมเสร็จสิ้น

พล.อ.สมเจตน์ บุญถนอม ส.ว. อภิปรายไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้ง 6 ร่าง โดยให้เหตุผลว่า 1.การแก้ไขรัฐธรรมนูญอาจทำให้สภากลับไปเป็นสภาทาสเหมือนในอดีต 2.การร่างรัฐธรรมนูญใหม่อาจขัดต่อขัดคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ 3.สถานการณ์ขณะนี้เกิดความแตกแยกมีกลุ่มคนละเมิดสถาบัน จึงไม่เหมาะที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญ 4.การแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้เพื่อประโยชน์ของใคร เป็นการแก้ไขเพื่อประโยชน์ของประชาชนหรือไม่

นายสุทิน คลังแสง ส.ส.พรรคเพื่อไทย ประธานวิปฝ่ายค้าน ย้ำว่า รัฐธรรมนูญเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับปากท้องของประชาชน และเชื่อว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญให้เป็นประชาธิปไตยจะทำให้ต่างชาติเชื่อมั่น และเข้ามาลงทุนในประเทศไทย เพราะที่ผ่านมากติกาของไทยไม่เป็นที่ยอมรับต่างชาติเลยมีสนใจมาลงทุน พร้อมระบุว่า ความขัดแย้งที่มีการชุมนุมเกิดขึ้นเพราะปัญหาที่เกิดจากรัฐธรรมนูญ พร้อมกับเรียกร้องให้ส.ว.โหวตผ่านร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 256 ตั้งส.ส.ร.มาร่างรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ และผ่านร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 272 ตัดอำนาจส.ว.โหวตนายกรัฐมนตรี  ซึ่งจะช่วยให้สถานการณ์ตรึงเครียดที่เกิดขึ้นคลี่คลายลง  

นายสุทิน ระบุด้วยว่า วันนี้ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญจะผ่านหรือไม่ผ่านการพิจารณาของรัฐสภาขึ้นอยู่กับพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม

นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ อภิปรายว่า การลงมติวันนี้จะส่งผลต่อสถานการณ์ทางการเมืองของประเทศอย่างแน่นอน  ขณะนี้มีการแบ่งแยกสองฝ่ายหากปล่อยไว้ไม่เป็นผลดีต่อประเทศ และมีบางฝ่ายอึดอัดใจและมีการตั้งกลุ่มคนอยู่ตรงกลาง

นายอนุศักดิ๋ คงมาลัย ส.ว. อภิปรายว่า จากการที่สมาชิกวุฒิสภาลงไปพบประชาชน ทำให้เห็นว่าปัญหาบางอย่างแก้ด้วยการเมืองไม่ได้ ต้องแก้ปัญหาเชิงระบบ ทั้งนี้ การแก้รัฐธรรมนูญ ในมาตรา 271 และ 272 ต้องไปศึกษาเพิ่มเติมว่าที่เสนอมายึดโยงและแก้ไขให้ประชาชนจริงหรือไม่ ชี้วุฒิสภาทำหน้าที่อย่างเต็มกำลัง ยึดโยงกับประชาชนและปัญหาของประชาชน

นายนิคม บุญวิเศษ ส.ส.พรรคพลังปวงชน เห็นด้วยกับการแก้รัฐธรรมนูญ ชี้ รธน.ปี 60 มีข้อบกพร่องมาก แก้ไขได้ยากเพราะเงื่อนไขต่าง ๆ เช่น เสียง 1 ใน 3 ของสว. อีกทั้งเป็น รธน. ที่ทำให้รัฐบาลขาดเสถียรภาพ จึงทำให้การบริหารต่าง ๆ ไม่สามารถทำได้ ต่างชาติไม่เชื่อมั่น การลงทุนไม่เกิด

นายบุญสิงห์ วรินทร์รักษ์ ส.ส.พรรคพลังประรัฐ ระบุว่า รัฐธรรมนูญถูกมองเหมือนเหรียญ 2 ด้าน อยู่ที่ใครจะมองด้านใด ทั้งนี้ การมอง รธน. ด้วยสติ ไม่เอาอารมณ์เข้าไปใช้เป็นเรื่องสำคัญ แนะให้พิจารณา รธน. ว่ากำหนดอำนาจสูงสุดไว้ที่ใคร ซึ่งก็คือ ประชาชน เข้าใจการ #แก้รัฐธรรมนูญ เป็นเรื่องปกติเมื่อใช้ไปสักระยะ แต่การกำหนดให้วิธีแก้ไข รธน. ง่ายเป็นเรื่องสุ่มเสี่ยง เพราะ รธน. เป็นกฎหมายสูงสุด การกำหนดให้วิธีแก้ รธน. ยาก จึงเป็นเรื่องปกติ

พล.ต.ท.ศานิตย์ มหถาวร ส.ส. ตั้งคำถามเรื่องการแก้รัฐธรรมนูญ ทำไมต้องแตะหมวด 1-2 พร้อมกับอภิปรายถึงความสำคัญของสถาบัน โดยส่วนตัวไม่มีธง แต่อยากฟังเหตุผลของการแก้ไข เพราะจากการฟังอภิปรายมา เหมือนเป็นการอภิปรายไม่ไว้วางใจ ส.ว. กับนายกรัฐมนตรีมากกว่า แนะการแก้ รธน. ต้องให้สอดคล้องกับกฎหมาย

นายมงคลกิตติ์ สุขสินธารานนท์ ส.ส.พรรคพลังศรีวิไลย์ เห็นด้วยกับการแก้รัฐธรรมนูญ ปี 60 โดยการเปิดทางตั้ง ส.ส.ร. ชี้ มีหลายมาตราที่มีปัญหา เช่น มาตรา 269 การปฏิรูปประเทศ, มาตรา 272 อำนาจ ส.ว. ในการโหวตนายกฯ และ มาตรา 279 การคุ้มครองคำสั่ง คสช.

นายอนุศักดิ๋ คงมาลัย ส.ว. อภิปรายว่า จากการที่สมาชิกวุฒิสภาลงไปพบประชาชน ทำให้เห็นว่าปัญหาบางอย่างแก้ด้วยการเมืองไม่ได้ ต้องแก้ปัญหาเชิงระบบ ทั้งนี้ การแก้รัฐธรรมนูญ ในมาตรา 271 และ 272 ต้องไปศึกษาเพิ่มเติมว่าที่เสนอมายึดโยงและแก้ไขให้ประชาชนจริงหรือไม่ ชี้วุฒิสภาทำหน้าที่อย่างเต็มกำลัง ยึดโยงกับประชาชนและปัญหาของประชาชน

นายนิคม บุญวิเศษ ส.ส.พรรคพลังปวงชน เห็นด้วยกับการแก้รัฐธรรมนูญ ชี้ รธน.ปี 60 มีข้อบกพร่องมาก แก้ไขได้ยากเพราะเงื่อนไขต่าง ๆ เช่น เสียง 1 ใน 3 ของสว. อีกทั้งเป็น รธน. ที่ทำให้รัฐบาลขาดเสถียรภาพ จึงทำให้การบริหารต่าง ๆ ไม่สามารถทำได้ ต่างชาติไม่เชื่อมั่น การลงทุนไม่เกิด

นายบุญสิงห์ วรินทร์รักษ์ ส.ส.พรรคพลังประรัฐ ระบุว่า รัฐธรรมนูญถูกมองเหมือนเหรียญ 2 ด้าน อยู่ที่ใครจะมองด้านใด ทั้งนี้ การมอง รธน. ด้วยสติ ไม่เอาอารมณ์เข้าไปใช้เป็นเรื่องสำคัญ แนะให้พิจารณา รธน. ว่ากำหนดอำนาจสูงสุดไว้ที่ใคร ซึ่งก็คือ ประชาชน เข้าใจการ #แก้รัฐธรรมนูญ เป็นเรื่องปกติเมื่อใช้ไปสักระยะ แต่การกำหนดให้วิธีแก้ไข รธน. ง่ายเป็นเรื่องสุ่มเสี่ยง เพราะ รธน. เป็นกฎหมายสูงสุด การกำหนดให้วิธีแก้ รธน. ยาก จึงเป็นเรื่องปกติ

พล.ต.ท.ศานิตย์ มหถาวร ส.ส. ตั้งคำถามเรื่องการแก้รัฐธรรมนูญ ทำไมต้องแตะหมวด 1-2 พร้อมกับอภิปรายถึงความสำคัญของสถาบัน โดยส่วนตัวไม่มีธง แต่อยากฟังเหตุผลของการแก้ไข เพราะจากการฟังอภิปรายมา เหมือนเป็นการอภิปรายไม่ไว้วางใจ ส.ว. กับนายกรัฐมนตรีมากกว่า แนะการแก้ รธน. ต้องให้สอดคล้องกับกฎหมาย

นายมงคลกิตติ์ สุขสินธารานนท์ ส.ส.พรรคพลังศรีวิไลย์ เห็นด้วยกับการแก้รัฐธรรมนูญ ปี 60 โดยการเปิดทางตั้ง ส.ส.ร. ชี้ มีหลายมาตราที่มีปัญหา เช่น มาตรา 269 การปฏิรูปประเทศ, มาตรา 272 อำนาจ ส.ว. ในการโหวตนายกฯ และ มาตรา 279 การคุ้มครองคำสั่ง คสช.

บทความที่เกี่ยวข้อง