นิด้าโพลชี้ปชป.ชนะเลือกตั้งซ่อมชุมพร-สงขลา เพราะฐานเสียงเดิม ตัวผู้สมัคร และไม่พอใจการปราศรัยของร.อ.ธรรมนัส รวมถึงไม่ไว้วางใจพปชร.ที่มีแผนจะล้มรัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์

ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “ทำไมพรรคประชาธิปัตย์ชนะพรรคพลังประชารัฐในการเลือกตั้งซ่อมภาคใต้” ทำการสำรวจระหว่าง วันที่ 19-20 มกราคม 2565 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป และมีสิทธิเลือกตั้งในจังหวัดชุมพรและจังหวัดสงขลา กระจายทุกระดับการศึกษา อาชีพและรายได้ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,329 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับสาเหตุที่ทำให้พรรคประชาธิปัตย์ชนะพรรคพลังประชารัฐในการเลือกตั้งซ่อมภาคใต้ การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่าง โดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย  (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0

จากการสำรวจเมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อสาเหตุที่ทำให้พรรคประชาธิปัตย์ชนะพรรคพลังประชารัฐในการเลือกตั้งซ่อม จังหวัดชุมพร เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2565 ที่ผ่านมา พบว่า ตัวอย่างที่มีสิทธิเลือกตั้งในจังหวัดชุมพร ร้อยละ 69.80 ระบุว่า ฐานคะแนนเดิมของพรรคประชาธิปัตย์ดีกว่าพรรคพลังประชารัฐ รองลงมา ร้อยละ 29.87 ระบุว่า ผู้สมัครของพรรคประชาธิปัตย์ได้รับความนิยมมากกว่าผู้สมัครของพรรคพลังประชารัฐ ร้อยละ 12.08 ระบุว่า คนชุมพรแสดงออกในความต้องการ “คืนความเป็นธรรมให้อดีต ส.ส. ลูกหมี (ชุมพล จุลใส)” ร้อยละ 11.58 ระบุว่า พรรคประชาธิปัตย์มีกลยุทธ์ในการหาเสียงได้ดีกว่าพรรคพลังประชารัฐ ร้อยละ 7.38 ระบุว่า พรรคประชาธิปัตย์สามารถปราศรัยโน้มน้าวใจประชาชนได้ดีกว่าพรรคพลังประชารัฐ ร้อยละ 2.01 ระบุว่า พรรคประชาธิปัตย์ไม่มุ่งโจมตี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ในระหว่างการหาเสียงเลือกตั้ง ร้อยละ 1.51 ระบุว่า ประชาชนไม่ไว้ใจพรรคพลังประชารัฐว่าจะมีแผนล้ม พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ในอนาคตหรือไม่ และผู้อำนวยการเลือกตั้งของพรรคพลังประชารัฐไม่ได้เป็นคนใต้ ในสัดส่วนที่เท่ากัน ร้อยละ 1.34 ระบุว่า พรรคพลังประชารัฐไม่ชู พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ในระหว่างการหาเสียงเลือกตั้ง และร้อยละ 0.34 ระบุว่า เฉย ๆ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ 

ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อสาเหตุที่ทำให้พรรคประชาธิปัตย์ชนะพรรคพลังประชารัฐในการเลือกตั้งซ่อมจังหวัดสงขลา เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2565 ที่ผ่านมา พบว่า ตัวอย่างที่มีสิทธิเลือกตั้งในจังหวัดสงขลา ร้อยละ 71.90 ระบุว่า ฐานคะแนนเดิมของพรรคประชาธิปัตย์ดีกว่าพรรคพลังประชารัฐ รองลงมา ร้อยละ 29.20 ระบุว่า ผู้สมัครของพรรคประชาธิปัตย์ได้รับความนิยมมากกว่าผู้สมัครของพรรคพลังประชารัฐ ร้อยละ 9.69 ระบุว่า พรรคประชาธิปัตย์มีกลยุทธ์ในการหาเสียงได้ดีกว่าพรรคพลังประชารัฐ ร้อยละ 7.64 ระบุว่า ประชาชนไม่พอใจการปราศรัยของเลขาธิการพรรคพลังประชารัฐชวนเลือกผู้แทนฯ ที่มีเงิน ร้อยละ 6.68 ระบุว่า พรรคประชาธิปัตย์สามารถปราศรัยโน้มน้าวใจประชาชนได้ดีกว่าพรรคพลังประชารัฐ ร้อยละ 2.46 ระบุว่า ผู้อำนวยการเลือกตั้งของพรรคพลังประชารัฐไม่ได้เป็นคนใต้ ร้อยละ 2.05 ระบุว่า ประชาชนไม่ไว้ใจพรรคพลังประชารัฐว่าจะมีแผนล้ม พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ในอนาคตหรือไม่ ร้อยละ 1.64 ระบุว่า พรรคประชาธิปัตย์ไม่มุ่งโจมตี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ในระหว่างการหาเสียงเลือกตั้ง ร้อยละ 0.55 ระบุว่า พรรคพลังประชารัฐ ไม่ชู พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ในระหว่างการหาเสียงเลือกตั้ง และร้อยละ 1.36 ระบุว่า เฉย ๆ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างทั้งหมดมีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ โดยตัวอย่าง ร้อยละ 44.85 มีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดชุมพร และร้อยละ 55.15 มีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดสงขลา ตัวอย่าง ร้อยละ 50.04 เป็นเพศชาย และร้อยละ 49.96 เป็นเพศหญิง ตัวอย่าง ร้อยละ 4.37 อายุ 18-25 ปี ร้อยละ 13.24 อายุ 26-35 ปี ร้อยละ 23.70 อายุ 36-45 ปี ร้อยละ 34.31 อายุ 46-59 ปี และร้อยละ 24.38 อายุ 60 ปีขึ้นไป ตัวอย่าง ร้อยละ 88.64 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 10.83 นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 0.45 นับถือศาสนาคริสต์ และอื่น ๆ และร้อยละ 0.08 ไม่ระบุศาสนา 

ตัวอย่างร้อยละ 19.87 สถานภาพโสด ร้อยละ 77.20 สมรสแล้ว ร้อยละ 2.78 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ และร้อยละ 0.15 ไม่ระบุสถานภาพการสมรส ตัวอย่าง ร้อยละ 26.41 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 32.50 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 9.86 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 27.24 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ร้อยละ 3.76 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 0.23 ไม่ระบุการศึกษา 

ตัวอย่างร้อยละ 11.14 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 10.08 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 24.68 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 18.89 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 13.24 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 19.64 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน ร้อยละ 2.03 เป็นนักเรียน/นักศึกษา และร้อยละ 0.30 ไม่ระบุอาชีพ 

ตัวอย่างร้อยละ 17.46 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 21.14 รายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 31.38 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001-20,000 บาท ร้อยละ 11.21 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001-30,000 บาท ร้อยละ 3.69 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001-40,000 บาท ร้อยละ 4.89 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 10.23 ไม่ระบุรายได้