นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่าจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด -19 ในขณะนี้ ทำให้ผู้ติดเชื้อมีจำนวนเพิ่มขึ้นนั้น ท่านนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา และ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ที่กำกับดูแลกระทรวงแรงงาน ได้มีความห่วงใยพี่น้องลูกจ้าง ผู้ประกันตน และเน้นย้ำให้ตระหนักถึงการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันตนเองไม่ให้การ์ดตก ขณะเดียวกันในส่วนของกระทรวงแรงงาน ไม่ได้นิ่งนอนใจ ผมได้สั่งการให้สำนักงานประกันสังคม เตรียมความพร้อมรองรับสถานการณ์ ซึ่งเรามีความพร้อมในเรื่องของบุคลากรทางการแพทย์ของโรงพยาบาลในเครือข่ายประกันสังคม การให้บริการทางการแพทย์แก่ผู้ประกันตนที่ในระบบประกันสังคม มาตรา 33 และมาตรา 39 ที่ติดโควิด-19 ให้ได้รับการดูแลและรักษาฟรีได้ทันท่วงที พร้อมทั้งความพร้อมในการบริหารจัดการเตียง ซึ่งเป็นของ Hospitel เพื่อรองรับสถานการณ์ไว้แล้ว ซึ่งในแต่ละวันจะมีผู้ประกันตนหมุนเวียนเข้าออกอยู่ตลอดเวลา เมื่อผู้ประกันตนรักษาหายและแพทย์อนุญาตให้กลับบ้านได้ก็จะทำให้เตียงว่างลงอีก ขณะเดียวกันสำนักงานประกันสังคมจะประสานหาเตียงสำรองเพิ่มเติม เพื่อให้สามารถรองรับการรักษาผู้ประกันตนได้อย่างเพียงพอ จึงขอให้ผู้ประกันตนไม่ต้องกังวลและมั่นใจได้ว่ากระทรวงแรงงาน จะสามารถบริหารจัดการเตียงและรองรับการรักษาผู้ประกันตนจากทีมแพทย์และพยาบาลของโรงพยาบาลในเครือข่ายประกันสังคมได้เป็นอย่างดี
นายสุชาติ กล่าวต่อว่า ลูกจ้าง/ผู้ประกันตนที่มีข้อสงสัยหรือต้องการความช่วยเหลือ สามารถติดต่อได้ที่สายด่วนกระทรวงแรงงาน โทร 1506 กด 6 มีคณะทำงานประสานสถานพยาบาล Hospitel เพื่อเป็นช่องทางรองรับบริการให้ผู้ประกันตนได้เข้าถึงการรักษาอย่างทันท่วงที รวมทั้งเป็นช่องทางติดต่อให้กับผู้ประกันตนที่ไม่สามารถหาสถานที่ตรวจและสถานพยาบาลเข้ารับการรักษาในกรณีติดเชื้อได้ ซึ่งหลังการรับแจ้งเรื่องแล้ว เจ้าหน้าที่จะรีบประสานส่งตัวผู้ติดเชื้อ เข้าสู่ระบบการรักษาจะอยู่ที่โรงพยาบาล หรือ Hospitel ก่อนลำดับแรก โดยเน้นให้ผู้ประกันตนที่ป่วยเข้ารับการรักษาใน Hospitel
“ดังนั้นขอให้ผู้ประกันตนไม่ต้องกังวลและมั่นใจได้ว่า รัฐบาล กระทรวงแรงงาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะสามารถให้การดูแลทุกคนที่ติดเชื้อโควิด-19 อย่างเท่าเทียม มีเตียงรองรับเพียงพอแน่นอน เพื่อให้ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ซึ่งในเรื่องนี้ท่านนายกรัฐมนตรี เป็นห่วงใยและได้กำชับให้ช่วยเหลือดูแลพี่น้องแรงงานดุจคนในครอบครัว โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลังและเราจะก้าวข้ามวิกฤตนี้ไปด้วยกัน” นายสุชาติ กล่าวในท้ายสุด
สำนักงานประกันสังคมพร้อมจ่ายชดเชยให้ทุกมาตรา ไม่ว่าจะเป็น
มาตรา 33
กรณีลาป่วย : รับค่าจ้าง 30 วันแรก จากนายจ้าง
หยุดรักษาตัว เกิน 30 วันสามารถเบิกสิทธิประโยชน์กรณีขาดรายได้ จากประกันสังคมนับตั้งแต่วันที่ 31 ของการลาป่วยโดยได้รับเงินทดแทนร้อยละ 50 ของค่าจ้างจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท โดยได้รับ ครั้งละไม่เกิน 90 วัน ปีละไม่เกิน 180 วัน เว้นแต่โรคเรื้อรังไม่เกิน 365 วัน
มาตรา 39
รับเงินทดแทนขาดรายได้ร้อยละ 50 โดย คิดจากฐานอัตราการนำส่งเงินสมทบ (4,800 บาท)
ครั้งละไม่เกิน 90 วัน ปีละไม่เกิน 180 วัน
เว้นแต่โรคเรื้อรังไม่เกิน 365 วัน
ม.33 และ ม.39 จะพิจารณาจากเอกสารหลักฐาน และใบรับรองแพทย์ และผู้ประกันตนต้องมีการนำส่งเงินสมทบ 3 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนวันรับบริการทางการแพทย์ ตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขฯ
มาตรา 40
รับเงินทดแทนขาดรายได้ตามทางเลือก 1-2-3
พิจารณาจากเอกสารหลักฐาน และใบรับรองแพทย์ และมีการนำส่งเงินสมทบ 3 เดือน ภายในระยะเวลา 4 เดือนก่อนเดือนที่ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขฯ
ผู้ประกันตนมาตรา 40
ครม.เห็นชอบของขวัญปีใหม่ 65 ลดเงินสมทบเหลือร้อยละ 60 ต่ออีก 6 เดือน (ก.พ. – ก.ค. 65) สำหรับขั้นตอนของกฎกระทรวงดังกล่าว กระทรวงแรงงานโดยสำนักงานประกันสังคมจะได้เร่งดำเนินการเพื่อให้ประกาศใช้เป็นกฎหมายได้ทันภายในกำหนด
บทความที่เกี่ยวข้อง
ใหม่ อิทธิพันธ์ บัวทอง
ปัจจุบันดำรงตำแหน่งบรรณาธิการบริหารข่าวช่อง 8 RS mall หมายเลข 27 , อดีตบรรณาธิการบริหารสถานีโทรทัศน์ true4U ดิจิตอลทีวี, กรรมการสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย อดีตผู้อำนวยการข่าว PostTV, อดีตบรรณาธิการข่าวTPBS อดีตรองผู้อำนวยฝ่ายข่าว TNN24 อดีตบรรณาธิการข่าวการเมืองสถานีข่าว TNN 24 และASTV อดีตบรรณาธิการข่าวน.ส.พ.วัฏจักร