จนท.สู้ไฟป่าทั้งวันทั้งคืน เช้านี้เชียงใหม่ขึ้นที่ 1 เมืองอากาศแย่สุดในโลก

เชียงใหม่แซงปักกิ่งขึ้นอันดับ 1 เมืองคุณภาพอากาศแย่สุดที่ในโลก อำเภอเชียงดาวไฟป่ายังหนัก 46 จุด จุดความร้อนพบ 141 จุด เจ้าหน้าที่คงทำงานอย่างหนักทั้งกลางวันกลางคืนเพื่อดับสกัดไฟป่าไม่ให้ลุกลาม เจออุปสรรคเกิดกลางป่าทางลาดชันดอยสูง

ช่วงเวลา 08.00 น. จากการตรวจสอบ เว็บไซต์ https://www.iqair.com รายงานการตรวจวัดคุณภาพอากาศและการจัดการเมืองที่มีคุณภาพอากาศแย่ที่สุดของโลก US AQI . พบว่าจังหวัดเชียงใหม่ อยู่อันดับ 1 มีค่า 226 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร แซงหน้าเมืองปักกิ่ง ประเทศจีน ก่อนจะหล่นลงมาอยู่อันดับ 2 ช่วงเวลา 08.35 . เมืองปักกิ่ง ขึ้นอันดับ 1 สถานการณ์หมอกควันและไฟป่าของจังหวัดเชียงใหม่ ขณะนี้ยังคงรอความหวังจากพายุฤดูร้อน ฝนตกลงมาปกติในห้วงปี๋ใหม่เมืองเจียงใหม่จะเกิดขึ้นทุกปี จะทำให้ปัญหาฝุนควันพิษจาก PM 2.5 เบาบางลงไป เช้าวันนี้จากการรายงานศูนย์บัญชาการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 จังหวัดเชียงใหม่ พบจุดความร้อน (Hotspot) ประจำวันที่ 13 เมษายน 2566 รอบเช้าจังหวัดเชียงใหม่พบจุดความร้อน จำนวน 141 จุด พบในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ และป่าอนุรักา พบมากทสุดอำเภอเชียงดาว จำนวน 46 จุด อำเภอฝางจำนวน 29 จุด และอำเภอพร้าวจำนวน 11 จุด ซึ่งเจ้าหน้าที่ยังคงทำงานกันอย่างหนักตลอดทั้งวันทั้งคืนในการเฝ้าระวังพื้นที่ป่า การเกิดไฟป่า ดับไฟป่าไม่ให้ลุกลาม พบหลายพื้นที่เกิดขึ้นในป่าลึก ทางลาดชันอันตราย การเดินเท้าเข้าไปไมถึง ต้องใช้การโปรยน้ำจากทางอากาศ และการทำแนวกันไฟไม่ให้ลุกลาม

ส่วนการตรวจวัดคุณภาพอากาศของกรมควบคุมมลพิษ จากเว็บไซต์ http://air4thai.com ช่วงเวลา 08.00 น. จำนวน 6 จุดยังเป็นสีแดง มีค่าตั้งแต่ 92 -249 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ทั้งหมดอยู่ในเกณฑ์มีผลกระทบต่อสุขภาพ พื้นที่ ต.เมืองนะ อ.เชียงดาว, เชียงใหม่ พบปริมาณฝุ่นละออง ขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) มีค่า 276 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ,พื้นที่ต.ศรีภูมิ อ.เมือง, เชียงใหม่ พบปริมาณฝุ่นละออง ขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) มีค่า 163 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ,พื้นที่ต.ช้างเผือก อ.เมือง, เชียงใหม่ พบปริมาณฝุ่นละออง ขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) มีค่า 148 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร และพื้นที่ต.สุเทพ อ.เมือง, เชียงใหม่ พบปริมาณฝุ่นละออง ขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) มีค่า 139 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร