ม.ศรีปทุม-ดีโหวต เปิดบล็อกเชนโพล ชี้ว่า ‘ก้าวไกล-รวมไทยสร้างชาติ’ ขาขึ้น

ม.ศรีปทุม-ดีโหวต (D-vote) เปิดบล็อกเชนโพล จับตาเลือกตั้ง’ 66 ประจำสัปดาห์ ( 11 – 17 เม.ย. 2566) ผลโพลชี้ว่า ‘ก้าวไกล-รวมไทยสร้างชาติ’ ขาขึ้นมหาวิทยาลัยศรีปทุม (SPU) ร่วมกับดีโหวต (D-vote) เปิดเผยผลสำรวจ ‘คะแนนความนิยมทางการเมือง 2566’ ประจำสัปดาห์ โดยสำรวจระหว่างวันที่ 11 เม.ย. – 17 เม.ย. 2566 จากกลุ่มตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกช่วงอายุ ภูมิภาค ระดับการศึกษา และอาชีพทั่วประเทศ จำนวน 1,398 ตัวอย่าง ค่าความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 97.0 ผ่านเทคโนโลยีสำรวจความเห็นสาธารณะบนบล็อกเชน โดยพรรคการเมืองที่ประชาชนจะเลือกให้เป็น ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ อันดับ 1 พรรคเพื่อไทย ร้อยละ 43.79 อับดับ 2 พรรคก้าวไกล ร้อยละ 25.51 อันดับ 3 พรรครวมไทยสร้างชาติ ร้อยละ 10.43 อันดับ 4 พรรคภูมิใจไทย ร้อยละ 3.86 อันดับ 5 พรรคพลังประชารัฐ ร้อยละ 3.59 อันดับ 6 เสรีรวมไทย ร้อยละ 3.49 อันดับ 7 พรรคประชาธิปัตย์ ร้อยละ 2.92% อันดับ 8 พรรคไทยสร้างไทย ร้อยละ 2.33 อันดับ 9 พรรคอื่น ๆ นอกเหนือจากนี้ 1.56 อันดับ 10 พรรคชาติพัฒนากล้า ร้อยละ 1.54 และผู้ยังไม่ตัดสินใจร้อยละ 0.92

โดยเมื่อเทียบกับผลสำรวจครั้งที่แล้ว (ระหว่างวันที่ 28 มี.ค. – 10 เม.ย.) มีพรรคการเมืองที่ได้รับความนิยมขยับสูงขึ้นสำหรับแบบบัญชีรายชื่อ 3 ลำดับแรก คือ พรรคก้าวไกล รวมไทยสร้างชาติ และเสรีรวมไทยในขณะที่ผู้สมัคร ส.ส.แบบแบ่งเขตที่ประชาชนจะเลือกเป็นอันดับ 1 คือจากพรรคเพื่อไทย ร้อยละ 41.70 อันดับ 2 พรรคก้าวไกล ร้อยละ 21.37 อันดับ 3 พรรครวมไทยสร้างชาติ ร้อยละ 8.70 อันดับ 4 พรรคพลังประชารัฐ ร้อยละ 6.75 อันดับ 5 พรรคภูมิใจไทย ร้อยละ 5.76 และอันดับ 6 พรรคประชาธิปัตย์ ร้อยละ 4.82 อันดับ 7 พรรคไทยสร้างไทย ร้อยละ 3.54 อันดับ 8 พรรคชาติพัฒนากล้าร้อยละ 1.77 อันดับ 9 พรรคเสรีรวมไทย ร้อยละ 1.64 อันดับ 10 พรรคอื่น ๆนอกเหนือจากนี้ ร้อยละ 1.24 และผู้ยังไม่ตัดสินใจร้อยละ 2.65 โดยเมื่อเทียบกับผลสำรวจครั้งที่แล้ว มีพรรคการเมืองที่ได้รับความนิยมขยับสูงขึ้นสำหรับแบบแบ่งเขต 3 ลำดับแรก คือ พรรคก้าวไกล พลังประชารัฐ และรวมไทยสร้างชาติสำหรับบุคคลที่ประชาชนอยากสนับสนุนให้เป็นนายกรัฐมนตรีเป็นอับดับ 1 น.ส.แพทองธาร ชินวัตร (เพื่อไทย) ร้อยละ 41.94 อันดับ 2 นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ (ก้าวไกล) ร้อยละ 24.89 อันดับ 3 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา (รวมไทยสร้างชาติ) ร้อยละ 10.39 อันดับ 4 พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส (เสรีรวมไทย) ร้อยละ 5.78 อันดับ 5 นายอนุทิน ชาญวีรกุล (ภูมิใจไทย) ร้อยละ 3.56 อันดับ 6 คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ (ไทยสร้างไทย) ร้อยละ 3.20 อันดับ 7 ไม่รู้/ไม่แน่ใจ ร้อยละ 2.90 อันดับ 8 พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ (พลังประชารัฐ) ร้อยละ 2.69 อันดับ 9 นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ (ประชาธิปัตย์) ร้อยละ 2.63 อันดับ 10 นายกรณ์ จาติกวณิช (ชาติพัฒนากล้า) ร้อยละ 2.02โดยเมื่อเทียบกับผลสำรวจครั้งที่แล้ว บุคคลที่ประชาชนอยากสนับสนุนให้เป็นนายกรัฐมนตรี และมีคะแนนนิยมเพิ่มขึ้น3 ลำดับแรก ได้แก่ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา และพล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวสทั้งนี้ผลสำรวจความคิดเห็นต่อการเลือกตั้งเบื้องต้น (253 ตัวอย่าง ความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 92.0) พบว่าร้อย 81.03 จำเบอร์ผู้สมัคร ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อได้แล้ว ในขณะที่ร้อยละ 69.96 จำเบอร์ผู้สมัคร ส.ส. แบบแบ่งเขตได้แล้ว โดยร้อยละ 77.47 ไม่เห็นด้วยกับเบอร์ผู้สมัคร ส.ส. แบบแบ่งเขตแตกต่างกันในแต่ละเขต