นายกรัฐมนตรีเดินหน้าปรับโครงสร้างเศรษฐกิจไทย ลดพึ่งพาการส่งออกและการท่องเที่ยว สั่งศึกษา Land Bridge เพื่อสร้างรากฐานแก่เศรษฐกิจระยะยาว เพิ่มจากแผนงาน EEC
วันที่ 8 กันยายน 2563 ณ ตึกสันติไมตรี (หลังใน) พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม แถลงหลังประชุมคณะรัฐมนตรีถึงแนวทางการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจว่า วันนี้รัฐบาลมุ่งเน้นปรับปรุงสร้างเศรษฐกิจใหม่ จากเดิมที่ต้องพึ่งพาการส่งออก การท่องเที่ยว แต่การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้รายได้ลดลง อาจต้องจัดทำโครงการขนาดใหญ่เพื่อส่งเสริมการลงทุนภายในประเทศให้มากยิ่งขึ้น เพิ่มเติมจากแผนงาน EEC ตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี เพื่อเชื่อมการขนส่งระหว่างฝั่งตะวันออกและตะวันตก ท่าเรือต่าง ๆ ระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน ด้วยการศึกษา Land Bridge เพื่อสร้างรากฐานแก่เศรษฐกิจระยะยาว
พล.อ.ประยุทธ์ บอกด้วยว่า รัฐบาลได้ทำงานเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบแผนงานโครงการต่าง ๆ ตามพ.ร.ก. เงินกู้ฯ พร้อมปรับปรุงกฎหมายให้มีความทันสมัยมากยิ่งขึ้น โดยสัปดาห์ที่ผ่านมาได้พบปะภาคเอกชน 3 กลุ่มด้วยกัน ได้แก่ สมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทย สมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทยฯ และกลุ่มธุรกิจค้าปลีก อีคอมเมิร์ซ โลจิสติกส์ เพื่อรับทราบข้อคิดเห็นและดูว่ารัฐบาลจะสนับสนุนส่วนไหนได้บ้าง เป็นการทำงานร่วมกัน โดยจุดมุ่งหมายสำคัญคือ ลดการเลิกจ้างงานพนักงานให้มากที่สุด โดยรัฐบาลจะจัดหางบประมาณเพิ่มเติมเพื่อดูแลลูกจ้าง พนักงาน ในห่วงโซ่ผู้ประกอบการรายใหญ่
สำหรับแผนการพัฒนาแลนด์บริดจ์ของกระทรวงคมนาคมนั้นมีแผนพัฒนาโครงการก่อสร้างทางรถไฟเชื่อมโยงขนส่งสินค้าระหว่างท่าเรือฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน ระยะทาง 142 กม. วงเงิน 2.6หมื่นล้านบาท แบ่งเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ช่วงหาดใหญ่-ปากบารา และหาดใหญ่-ท่าเรือสงขลาแห่งที่ 2 (อ.จะนะ) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนแม่บทยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ (SEA : Strategic Environmental Assessment) ทั้งระบบท่าเรือชายฝั่งและสะพานเศรษฐกิจ (แลนด์บริดจ์) ครอบคลุม 6 จังหวัด ได้แก่ ชุมพร ระนอง นครศรีธรรมราช กระบี่ สงขลา และสตูล ควบคู่ไปกับแผนการพัฒนาแลนบริดจ์ภาคใต้ตอนบนโครงการรถไฟสายใหม่ ช่วง อ.ดอนสัก- จ.สุราษฎร์ธานี ระยะทาง 77 กม. วงเงิน 1.8 หมื่นล้านบาท และโครงการก่อสร้างรถไฟ ช่วง จ.สุราษฎร์ธานี-อ.ท่านุ่น จ.พังงา ระยะทาง 156 กม. วงเงิน 3.6 หมื่นล้านบาท
เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2561 นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร สมัยดำรงตำแหน่งรมช.คมนาคม ได้ระบุไว้ว่า ไทยเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญในแผนการพัฒนาระบบขนส่งและโลจิสติกส์ของภูมิภาคอาเซียน เนื่องจากเป็นพื้นที่เชื่อโยงการขนส่งสินค้า 2 ฝังมหาสมุทรและเป็นความเร็วสูง ช่วงกรุงเทพ-หนองคาย เพื่อเชื่อมการค้าตามเส้นทางจีน – สปป.ลาว – ไทย ไปยังมาเลเซียและสิงคโปร์ ดังนั้นการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก(อีอีซี) จึงเป็นตัวอย่างสำคัญที่จะผลักดันเศรษฐกิจชาติ เพื่อรองรับการเติบโตของภูมิภาคอาเซียน เนื่องจากพบว่าสัดส่วนจีดีพี ของประเทศราว 20 % นั้นมาจากสามจังหวัดในเขตอีอีซี โดยเฉพาะ จ.ระยองที่ครองสัดส่วนจีดีพีถึงร้อยละ 8 ทั้งที่มีประชากรแค่ร้อยละ 1ของทั้งประเทศ หรือราว 6 แสนล้านบาท ดังนั้นไทยควรมีแนวทางการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคอื่น ๆ ที่เชื่อต่อประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อรองรับการค้าอาเซียนด้วย
นายไพรินทร์ กล่าวต่อว่า พื้นที่แนวระเบียงเศรษฐกิจที่เหมาะสมนั้น กระทรวงคมนาคมว่าควรเป็นแนวทางระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้(SEC) และแนวระเบียงเศรษฐกิจภาคเหนือ เอ็นอีซี โดยเฉพาะที่ภาคใต้ตนมองว่าควรจะส่งเสริมพัฒนาเส้นทางขนส่ง 2 ฝั่งทะเลอ่าวไทยและทะเลอันดามัน หรือโครงการแลนด์บริดจ์สามารถช่วงชิงตลาดโลจิสติกส์ทางน้ำจากประเทศเพื่อนบ้านซึ่งมีปริมาณเรือสินค้า 4-5 เหมือนลำต่อวันบริเวณเส้นทางเดินเรือช่องแคบมะละกาเชื่อมต่อไปยังมาเลเซีย-สิงคโปร์
ปัจจุบันน่าเสียดายที่โครงการดังกล่าวถูกชะลอไปจากปัญหาต่าง ๆ จึงเสี่ยงที่ประเทศไทยจะเสียโอกาสเนื่องจากประเทศมาเลเซีย และจีนได้จับมือกันเพื่อพัฒนาเส้นทางแลนด์บริดจ์ในฝั่งมาเลเซียโดยมีกำหนดการแล้วเสร็จภายใน 3 ปี ซึ่งเส้นทางดังกล่าวถือว่าเป็นเส้นทางที่สั่นกว่า
ทั้งนี้แผนการพัฒนาแลนด์บริดจ์ของกระทรวงคมนาคมนั้นมีแผนพัฒนาโครงการก่อสร้างทางรถไฟเชื่อมโยงขนส่งสินค้าระหว่างท่าเรือฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน ระยะทาง 142 กม.วงเงิน 2.6 หมื่นล้านบาท แบ่งเป็น 2 ระยะ ได้แก่ช่วงหาดใหญ่-ปากบารา และหาดใหญ่-ท่าเรือสงขลาแห่งที่ 2 (อ.จะนะ) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนแม่บทยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้(SEA Strategic Environmental Assessment )ทั้งระบบท่าเรือชายฝั่งและสะพานเศรษฐกิจ ครอบคลุม 6 จังหวัด ได้แก่ ชุมพร ระนอง นครศรีธรรมราช กระบี่ สงขลา และสตูล ควบคู่ๆไปกับแลนบริดจ์ภาคใต้ตอนบนโครงการรถไฟสายใหม่ ช่วง อ.ดอนสัก-จ.สุราษฎร์ธานี ระยะทาง 77 กม. วงเงิน 1.8 หมื่นล้านบาท และโครงการก่อสร้างรถไฟช่วง จ.สุราษฎร์ธานี-อ.ท่านุ่น จ.พังงา ระยะทาง 156 กม.วงเงิน 3.6 หมื่นล้านบาท
ใหม่ อิทธิพันธ์ บัวทอง
ปัจจุบันดำรงตำแหน่งนายกสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย อดีตบรรณาธิการบริหารข่าวช่อง 8 RS mall หมายเลข 27 , อดีตบรรณาธิการบริหารสถานีโทรทัศน์ true4U ดิจิตอลทีวี, กรรมการสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย อดีตผู้อำนวยการข่าว PostTV, อดีตบรรณาธิการข่าว TPBS อดีตรองผู้อำนวยฝ่ายข่าว TNN24 อดีตบรรณาธิการข่าวการเมืองสถานีข่าว TNN24 และASTV อดีตบรรณาธิการข่าวหนังสือพิมพ์วัฏจักร